วิธีการรักษาและควบคุมความดันโลหิต

วิธีการรักษาและควบคุมความดันโลหิต

วิธีการรักษาและควบคุมความดันโลหิต

Lifestyle ที่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิต
          ไม่น่าเชื่อว่า สาเหตุการตายที่มาจากโรคหลอดเลือดหัวใจจะมีมากกว่า 7 ล้านคนต่อปี และโรคเส้นเลือดสมองก็มีมากกว่า 6 ล้าน คนต่อปี โดยมีความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากถึง 50% ของโรคทั้งสอง และทุกวันนี้ ก็มีผู้คนจำนวนมากที่เป็นโรคความดัน โลหิตสูงกันโดยไม่รู้ตัว
อยากจะบอกว่า โรคนี้สามารถควบคุมได้ ด้วยวิธีปรับเปลี่ยน พฤติกรรม หรือการกินยาก็ช่วยควบคุมอาการได้ดี อย่ามัวแต่ผลัดวันประกันพรุ่งกันครับ หันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุม ความดันโลหิตกันดีกว่า และเพื่อการมีสุขภาพที่ดีในอนาคต
 
ความดันโลหิตสูง

          ความดันโลหิต คือ แรงดันในเส้นเลือดแดง เมื่อหัวใจบีบตัว และหัวใจพักการบีบตัว ตัวเลขที่วัดมีหน่วยเป็น มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตสูง จะใช้ค่าที่สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท โรคความดันโลหิตสูง มักจะไม่แสดงอาการใดๆ และคนส่วน ใหญ่ก็ไม่ค่อยรู้ตัวกันว่าเป็น ซึ่งในแต่ละประเทศ ผู้ใหญ่เกือบ 30% มีปัญหาจากความดันโลหิตสูง และในจำนวนนี้ 50-60% จะมี สุขภาพที่ดีขึ้น ถ้าสามารถลดความดันโลหิตลงได้ ความจริงแล้ว โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ป้องกันไม่ให้ เกิดได้ แต่ถ้าเป็นแล้วไม่รู้จักดูแลตัวเองให้ดี ความดันโลหิตสูงก็ เป็นสาเหตุหนึ่งของการตายก่อนเวลาอันควร หรือทำให้เจ็บป่วย ด้วยโรคอันตรายต่าง ๆ ได้ เพราะฉะนั้น การป้องกันและการรักษา ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยต้องเริ่มจาก การติดตามตรวจ อาหารการกิน การออกกำลังกาย และการกินยา ซึ่งถือว่าเป็น 4 ขั้นตอนที่พึงปฏิบัติ

ขั้นตอนแรก การติดตามตรวจ เพื่อควบคุมความ ดันโลหิตของคุณ / Monitoring
          การติดตามตรวจวัดความดันเลือดเป็นขั้นตอนแรก การวัด ความดันโดยแพทย์เป็นเรื่องง่ายๆ และรวดเร็ว แต่ว่าการวัดความดัน แล้วพบว่า มีความดันโลหิตสูงเพียงครั้งเดียว ไม่ได้แปลว่าคุณเป็น ความดันโลหิตสูง เพราะทุกคนมีระดับความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลง ไปตลอดทั้งวัน ความดันโลหิตสูงจะยืนยันว่าเป็นก็ต่อเมื่อมีความดัน โลหิตสูงมากกว่า 2 ครั้งที่มาพบแพทย์ ดังนั้น ควรเริ่มต้นด้วยการ พบแพทย์เพื่อวัดความดัน
 
ขั้นตอนที่สอง เริ่มพฤติกรรมสุขภาพที่ดี / Healthy Lifestyle
          การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความดันโลหิต ได้แก่ ถ้ามี น้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ก็ควรต้องลดน้ำหนัก และควร ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือถ้าเป็นคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ ก็ควร อย่างยิ่งที่ต้องจำกัดปริมาณ
 
การลดน้ำหนัก
          การมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้น จะทำให้ร่างกายต้อง การเลือดและสารอาหารมากกว่าเดิม จึงส่งผล ให้ปริมาณเลือดในหลอดเลือดเพิ่มขึ้นและทำให้ เกิดแรงที่ผนังหลอดเลือดมากขึ้น ไขมันก็จะผลิตสารเคมีที่กระตุ้นให้เส้นเลือดและหัวใจ ทำงานหนักขึ้น สุดท้าย ก็จะมีความดันโลหิตสูงขึ้น แต่ถ้าน้ำหนัก ตัวลดลง แรงที่มีต่อเส้นเลือดแดงก็จะลดลงตาม ทำให้ความดัน เลือดลดลงด้วย นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่า การลดน้ำหนัก สามารถ เพิ่มประสิทธิภาพของยาที่รักษาความดัน และลดอัตราการเกิดโรค หลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย
 
ประโยชน์จากการออกกำลังกาย
          การออกกำลังกายได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีประโยชน์ต่อ ร่างกายหลายทาง โดยเฉพาะกับหัวใจ การออกกำลังกายอย่างหนัก จะทำให้หัวใจปั้มเลือดได้ดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ถ้าเป็นการออกกำลังกายระดับปานกลาง จะช่วยเพิ่มไขมัน ชนิดตีและระบบไหลเวียน อีกทั้งยังช่วยลดระดับความดันโลหิตและ ระดับไขมันในเลือดได้ ซึ่งผลต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยลดความเสี่ยงใน การเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดสมอง นอกจากนี้ การออกกำลังกาย เป็นประจำจะทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี ช่วยลดความเครียดและความ
วิตกกังวล ซึ่งจะมีผลต่อการลดระดับความดันโลหิต
 
ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์
          การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณไม่มาก อาจจะมีผลดีต่อสุขภาพ โดยผู้หญิงวันละ 1 drink และผู้ชายวันละ 2 drink ถ้ามากกว่านี้อาจ จะทำให้เกิดความต้นโลหิตสูงได้ เพราะแอลกอฮอล์จะไปเพิ่มระดับ ความดันโลหิต โดยการรบกวนกระแสเลือดที่เข้าและออกจากหัวใจ นอกจากนี้ยังรบกวนการทำงานของตับด้วย ทำให้ฮอร์โมนที่มีส่วน ต่อการควบคุมความดันเสียสมดุล และยังมีการวิจัยที่ชี้ชัดว่า แอล-กอฮอล์รบกวนการสร้างสเตอรอยต์ในร่างกาย ซึ่งเป็นตัวควบคุม ความดันโลหิตด้วย เห็นหรือยังครับว่า ความดีของแอลกอฮอล์มี น้อยนิดมาก แต่หมอหมีไม่สนับสนุนให้ดื่มแอลกอฮอล์นะครับ
 
ขั้นตอนที่สาม การปรับเปลี่ยนอาหาร Dietary Change
          อาหารที่ช่วยลดความดันโลหิตได้ คือ พวกผัก ผลไม้ และอาหาร ที่มีไขมันอิ่มตัว นอกจากช่วยลดความดันแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ ต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายอีกด้วยถ้าเรามีการปรับเปลี่ยนอาหาร รับรองว่าไม่นานความดันโลหิตก็จะดีขึ้น
 
The DASH Diet
          The DASH (Dietary Approaches to Stop Hypertension) เป็นหลักในการกินเพื่อควบคุมความดันโลหิต ได้แก่ ธัญพืช ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดน้ำหนักและ ควบคุมความดันโลหิตได้
 
กินอาหารที่มีโซเดียมและโพแทสเซียม ในปริมาณพอเหมาะ
          โซเดียมจะอยู่ในส่วนประกอบอาหาร และมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย ถ้าขาด โซเดียมเส้นประสาทและกล้ามเนื้อจะไม่สามารถทำงานได้ การดูดซึมสารอาหารก็จะเสียไป และร่างกายจะไม่สามารถรักษา สมดุลของน้ำและเกลือแร่ต่างๆ ได้ ส่วนแหล่งอาหารที่พบโซเดียม ก็ได้แก่ เนื้อสัตว์ ถั่ว ธัญพืช ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ อย่างไรก็ตาม โซเดียมที่ตนเอเชียได้รับส่วนใหญ่ จะมาจากเครื่อง ปรุงรสหรือเกลือที่เพิ่มเข้าไป หรือจากการถนอมอาหาร เช่น ปลาเค็ม ผักดอง และมาจากอาหารกระป๋องหรืออาหารสำเร็จรูปอื่นๆ รวมทั้ง ผงชูรสด้วย
 
          โดยปกติ โซเดียมจะมีกลไกในร่างกาย ที่จะนำโซเดียมกลับ มาใช้ และมีความจำเป็นจะต้องได้รับเพิ่มเพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป ทางเหงื่อ ทางปัสสาวะหรือการขับถ่าย ปริมาณที่แนะนำควรได้รับ ต่อวันคือ 2.4 กรัม ซึ่งก็เท่ากับเกลือ 6 กรัม หรือหนึ่งช้อนชา
 
          อีกวิธีที่จะช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ คือ การเพิ่มการกินอาหารที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม และเฉพาะอย่างยิ่ง โพแทสเซียม สำหรับแหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูง แมกนีเซียมสูง และโซเดียมต่ำ ได้แก่ เต้าหู ถั่วเหลือง น้ำนมถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ถั่ว ผักใบเขียว ส่วนอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ และถั่ว

An A-Z of foods High in Potassium, Low in Sodium (แหล่งอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงและโซเดียมต่ำ)
 
avocado & other stone fruit banana, plantaincoconut water, milk & fleshdates & other dried fruits fenugreek & other spices herbs and chili fresh or dried
gourds - egg bitter, bottle & wax Indian mackerel & other fishJackfruitkale & other green leafy vegetables kidney + other beans + legumes lotus, sesame, sunflower & other seed mushrooms - fresh or dried and unsalted orange and other citrus fruits & juices papaya, watermelon & other seeded fruit peanuts & other nutsraisins + other dried fruit red and white meatrice bran sweet and white potato soy - beans, Curd, milktomatoTamarind tapioca, taro yoghurt & dairy (except cheese)
 
ขั้นตอนที่ 4 การกินยาควบคุมความดัน Medication to Lower Blood Pressure
          การควบคุมระดับความดันโลหิตเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพในระยะยาว ถ้าหากว่า การออกกำลังกายและการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ยังไม่สามารถควบคุมความดันได้ก็ควรต้องใช้ยา ซึ่งยาที่จะใช้ควบคุมความดัน ก็มีหลากหลายชนิด แต่จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาและ ทำการปรับยา รวมถึงต้องติดตามการรักษาจนระดับความดันเข้าสู่ โหมดปกติ
 
          คุณสามารถควบคุมความดันของคุณได้ เริ่มเสียแต่วันนี้ ใน ขณะที่ความดันโลหิตมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น การปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมหลายๆ อย่างจะช่วยควบคุมความดันได้ดีขึ้น
ซึ่งผลจาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความดันโลหิตสูง อาจจะได้ ผลมากหรือน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่ผลจากการวิจัยพบว่า การปรับเปลี่ยนแต่ละอย่างจะได้ผลดังนี้

การลดน้ำหนัก
          แนะนำให้ควบคุมให้ดัชนีมวลกายอยู่ที่ 18.5-24.9 สามารถ ลดความดันค่าบน systolic ได้ประมาณ 5-20 มิลลิเมตรปรอท ต่อ น้ำหนักที่ลดได้ 10 กิโลกรัม
 
การกินอาหารตามหลัก DASH
          ควรกินผักผลไม้และผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และลดอาหารที่มี ไขมันสูง จะช่วยลดความดันค่าบน Systolic ได้ประมาณ 8-14 มิลลิเมตรปรอท
 
การลดการรับประทานอาหารที่มีโซเดียม
          ควรกินโซเดียมไม่เกินวันละ 2.4 กรัม หรือเกลือไม่เกิน 6 กรัม จะช่วยลดความดันค่าบน systolic ได้ประมาณ 2-8 มิลลิเมตรปรอท
 
การออกกำลังกาย
          ควรออกกำลังกายประเภทแอโรบิกเป็นประจำ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือเกือบทุกวัน จะช่วยลดความดันค่าบน systolic ได้ประมาณ 2-4 มิลลิเมตรปรอท
 
ความดันโลหิต ทำไมต้องมีตัวเลขสองค่า
          ความดันโลหิตสงสัยกันมั้ยว่าทำไมต้องมีตัวเลขสองค่า หลายๆ คนอาจจะยังไม่เคยรู้ ว่า ทำไมค่าความดันเลือดต้องมีสองค่า โดยทางการแพทย์ เรียก ความดันค่าที่มากกว่าว่า systolic และเรียกค่าที่ต่ำกว่าว่า diastolic ซึ่งการติดตามวัดความดันโลหิตค่าทั้งสองตัวนี้ มีความสำคัญและ ควรจะรู้ว่ามันมาได้ยังไง
 
ค่าความดัน systolic
          เมื่อหัวใจเต้น จะมีการบีบตัวและดันเลือดออกมาจากหัวใจ ไปตามเส้นเลือดแดงทั่วร่างกาย แรงต้นนี้ทำให้เกิดความดันใน เส้นเลือดแดง ค่าความดันที่วัดได้นี้คือ ความดัน systolic ซึ่งค่า ปกติของความดัน systolic นี้ควรจะต่ำกว่า 120 ถ้าระดับที่วัดได้คือ 130-139 แปลว่า คุณเริ่มมีความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูง Prehypertension หรือเรียกอีกอย่างว่า borderline hypertension ซึ่งแปลว่า คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากขึ้น และความดัน Systolic ที่สูงกว่า 140 ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูง
 
 
ค่าความดัน diastolic
          ค่าความดัน diastolic หรือค่าความดันตัวล่าง แสดงถึงความดัน ในเส้นเลือดแดงในขณะที่หัวใจพักการบีบตัวแต่ละครั้ง ค่าปกติควร จะต่ำกว่า 80 ส่วนค่าระหว่าง 80-89 แสดงว่าเริ่มมีความเสี่ยงที่ จะเป็นความดันโลหิตสูง และค่าที่สูงกว่า 90 ถือว่าเป็นความดัน โลหิตสูง
 
วิธีการวัดความดันโลหิต
          การวัดความดันโลหิต เป็นการตรวจที่ง่ายและไม่ต้องใช้ เครื่องมือยุ่งยาก แถมยังไม่ต้องเจ็บตัวด้วย เพียงแค่ใช้เครื่องวัด ความดันที่ต่อเข้ากับส่วนที่พันกับต้นแขน ขณะตรวจแพทย์จะใช้ เครื่องฟัง ตรวจฟังเสียงของเลือดที่เส้นเลือดแดง ความดันจะถูกบีบ ขึ้นไปทำให้ cuff แน่นขึ้น จนความดันสูงกว่าระดับความดันโลหิต systolic และถูกปล่อยลงช้าๆ เสียงแรกที่ได้ยินทางเครื่องฟัง คือ ระดับ ความดัน systolic จนกระทั่งเสียงหายไป นั่นคือ ระดับความดัน diastolic ก็จะทำให้ได้ค่าความดันโลหิตที่วัดได้เช่น 120/80 หน่วย ที่ใช้เรียกคือ มิลลิเมตรปรอท mm Hg.
 
ควรจะตรวจวัดความดันโลหิตบ่อยแค่ไหน
  • ถ้าความดันโลหิตปกติ คือน้อยกว่า 120/80 สามารถ ตรวจความดันอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสองปี หรือบ่อยกว่านั้นถ้า แพทย์แนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม 
  • ถ้าความดันโลหิตอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงจะเป็นความดันโลหิตสูง คือ ระดับความดัน systolic อยู่ระหว่างค่า 130-139 หรือความดัน diastolic อยู่ระหว่าง 80-89 ควรจะตรวจความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง หรือมากกว่าถ้าแพทย์แนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม
  • ถ้าความดันโลหิตสูงกว่า 140-90 ควรพบแพทย์เพื่อตรวจ ยืนยันว่าเป็นความดันโลหิตสูงและทำการรักษาตามความเหมาะสม
 
สามารถวัดความดันโลหิตเองที่บ้านได้หรือไม่?
          ไม่ใช่เรื่องยากเลย ถ้าคุณจะตรวจวัดความดันเองที่บ้าน อันที่ จริงถือว่าสำคัญ โดยเฉพาะคนที่มีความดันโลหิตสูง เท่ากับเป็นการ ช่วยให้การรักษาดีขึ้น และอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มคนที่เรียกว่า “white coat hypertension” คือ คนที่มีความกังวลเมื่อต้องมาพบแพทย์ และ จะมีความดันโลหิตสูงกว่าปกติทุกครั้งที่มาพบแพทย์ 
          ถ้าคุณสะดวกและพร้อมเรื่องการเงิน ก็อาจซื้อหาเครื่องวัด ความดันสำหรับไว้ใช้เองที่บ้านก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันจะมีเครื่องดิจิตอล ที่ค่อนข้างใช้ง่าย เพียงกดปุ่มเดียวก็สามารถอ่านความดันโลหิตได้ ทันที ที่สำคัญคือ ควรเลือกที่พันแขนให้มีขนาดพอเหมาะกับคุณ เพราะถ้าแขนของคุณใหญ่มากกว่าขนาดที่พันแขน จะทำให้ค่าที่ วัดได้สูงเกินจริง เช่นนั้นแล้ว ก็ขอแนะนำเครื่องรุ่นที่พันต้นแขน เนื่องจากให้ความแม่นยำมากกว่า และเมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ควรนำค่า ระดับความดันที่ตรวจวัตจากเครื่องที่บ้านไปเปรียบเทียบกับค่าระดับความดันที่ตรวจวัดโดยเครื่องของโรงพยาบาล เพื่อให้แน่ใจว่า เครื่อง วัดที่บ้านจะไม่ทรยศคุณ
 
          แต่ก่อนจะวัดความดันโลหิต ควรงดกาแฟ บุหรี่ หรือกิจกรรมต่างๆ ประมาณ 30 นาที อาจจะใช้ท่านั่งให้สามารถวางเท้าทั้งสองไว้บนพื้น วางแขนไว้กับโต๊ะ ให้ส่วนบนของแขนอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ และ พยายามเลือกวัดความดันในเวลาเดียวกันทุกวัน เช่น ตอนเช้าหลัง จากตื่นและทำธุระส่วนตัวเสร็จเรียบร้อย ที่สำคัญอย่าลืมจดบันทึก ความดันไว้ในสมุด เผื่อไว้เวลาที่ไปพบแพทย์

          ขอทิ้งท้ายกันสักนิด....ความดันโลหิตสูงไม่จำเป็นต้องมีอาการ ผิดปกติ การรักษาจึงไม่ได้รักษาอาการ แต่เป็นการรักษาระดับ ความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน ไม่ว่า จะเป็นหัวใจวาย เส้นเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคไต


 
credit Dr. Carebear

 

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.