ดื่มน้ำวันละเท่าไหร่ ถึงจะดีที่สุด

ดื่มน้ำวันละเท่าไหร่ ถึงจะดีที่สุด

ดื่มน้ำวันละเท่าไหร่ ถึงจะดีที่สุด

ดื่มน้ำมากๆ นะครับ ทำไม ทำไม ทำไม?
        เคยสงสัยกันใช่มั้ย ทำไมถึงต้องให้ดื่มน้ำให้เพียงพอ...ครับ.. เพราะน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย และร่างกายคนเราก็อาจจะต้อง การปริมาณน้ำที่ไม่เท่ากัน โดยทั่วไป จะแนะนำให้ดื่มน้ำกันวันละ 2 ลิตร หรือวันละ 8 แก้ว แต่อันที่จริง เรื่องปริมาณน้ำนี้ มีปัจจัย หลายอย่างที่ทำให้แตกต่างกัน รวมถึงการมีโรคประจำตัว และ กิจกรรมที่ทำในแต่ละวันด้วย
  

น้ำจำเป็นกับร่างกายอย่างไร
        เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบหลักของร่างกาย ประมาณ 60% ของน้ำหนักตัว คือ น้ำ ทุกระบบของร่างกายต้องการน้ำเพื่อให้การ ทำงานเป็นปกติ เช่น ช่วยขับถ่ายของเสียหรือสารพิษต่างๆ จากอวัยวะในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นตับ หรือไต ช่วยนำพาสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงร่างกาย และช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับระบบทางเดินหายใจ หู คอ และจมูก ถ้าหากร่างกายขาดน้ำ จะทำให้สูญเสียพลังงาน รู้สึก อ่อนเพลีย และระบบต่างๆ ของร่างกายก็จะเสียสมดุลไปด้วย
 

ปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการ
        ในทุกๆ วัน ร่างกายจะสูญเสียน้ำออกไปทางระบบทางเดิน หายใจ ทางเหงื่อ ทางเดินอาหาร และทางเดินปัสสาวะ และเพื่อให้ ร่างกายทำงานได้ตามปกติ เราจึงต้องเติมน้ำเข้าไป เพื่อชดเชยน้ำ ที่สูญเสียไป ปกติแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ดื่มน้ำประมาณ 8 แก้วต่อ วัน แต่เพื่อให้ได้ความแม่นยำมากขึ้น ก็อาจจะคำนวณจาก
  • การชดเชยน้ำที่เสียไป Replacement approach ปริมาณ ปัสสาวะต่อวัน จะประมาณ 1.5 ลิตร และจากการหายใจ หยดเหงื่อและทางเดินอาหารอีกเกือบหนึ่งลิตร ซึ่งจากอาหารที่เรากินเข้าไป เราจะได้รับน้ำประมาณ 20% ของน้ำที่ร่างกายได้รับ และจากการ ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอีกประมาณ 2 ลิตร ก็จะเพียงพอต่อการชดเชย น้ำที่เสียไปต่อวัน
 
  • น้ำวันละ 8 แก้วต่อวัน ใช้หลักคือ ดื่มน้ำ8 ออนซ์ วันละ8 แก้วต่อวัน Eight 8-ounce glasses of water a day ถึงแม้ว่าวิธี การนี้จะไม่ได้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์โดยตรง แต่ก็เป็นวิธีที่ง่ายดี ที่จะแนะนำและจดจำทำตาม
  • คำแนะนำทางด้านโภชนาการสถาบันทางการแพทย์ แนะนำ ว่า ผู้ชายควรจะดื่มน้ำให้ได้วันละ 3 ลิตร หรือน้ำ 13 แก้ว ส่วนผู้หญิงก็ควรดื่มให้ได้ 2.2 ลิตร หรือน้ำ 9 แก้ว

        นอกเหนือจาก 3 วิธีที่แนะนำ ถ้าคุณดื่มน้ำได้มากพอ คุณก็ จะไม่รู้สึกหิวน้ำและปัสสาวะก็จะใส หรือแค่เป็นสีเหลืองอ่อนๆ นั่น ก็แปลว่า ร่างกายคุณได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
           

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความต้องการน้ำต่อวัน
        ในบางครั้ง ปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการต่อวัน ก็อาจมีการ ปรับเปลี่ยน ไม่สามารถจะกำหนดตายตัวได้ว่าต้องกินวันละเท่านั้น เท่านี้ จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เราทำ อุณหภูมิที่อยู่โรคประจำตัว หรือ สุขภาพ การตั้งครรภ์ และการให้นมบุตร ทุกอย่างล้วนเป็นตัวแปร ต่อปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการ
        การออกกำลังกาย ถ้าคุณออกกำลังกายแล้วทำให้มีเหงื่อ มาก อาจจะต้องการน้ำเพิ่มขึ้นอีก 400-600 มิลลิลิตร แต่ถ้าออก กำลังกายมากกว่าหนึ่งชั่วโมง อาจจะต้องการน้ำมากยิ่งขึ้น ซึ่งขึ้น อยู่กับกิจกรรมที่ทำ หรือไม่ก็อาจจะเสริมน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชย            โซเดียมที่เสียไปกับเหงื่อด้วย เพราะการขาดน้ำและเกลือแร่อาจจะ ทำให้หน้ามืดเป็นลมได้
        สิ่งแวดล้อม อากาศร้อน จะทำให้เสียน้ำมากขึ้น ส่วนในที่ อุณหภูมิเย็นจัด ก็อาจจะทำให้มีการปัสสาวะมากขึ้น เช่นเดียวกับ การขึ้นที่สูงกว่า 2,500 เมตร ก็ทำให้ต้องการน้ำมากขึ้น
        ความเจ็บป่วย และสุขภาพ เมื่อมีไข้ หรืออาเจียนและท้อง เสีย จะทำให้เสียน้ำออกไปมาก ถ้าหากกินได้ ก็อาจมีการชดเชยด้วย น้ำเกลือแร่ หรือถ้ามีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่วในทาง เดินปัสสาวะ ก็ควรดื่มน้ำให้มากขึ้นด้วย ในทางกลับกัน ถ้ามีโรคหัวใจ หรือโรคไตบางชนิด ก็จำเป็นต้องจำกัดการดื่มน้ำ ไม่ให้ดื่มมากเกิน ไป เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
        การตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ในผู้หญิงตั้งครรภ์ควรดื่มน้ำ ให้ได้ 2.3 ลิตรต่อวัน หรือประมาณ 10 แก้ว และในช่วงให้นมบุตร ควรดื่มน้ำ 3.1 ลิตรต่อวัน หรือประมาณ 13 แก้ว
 

        ถ้าคุณไม่สามารถดื่มน้ำได้ตามที่กำหนด อาจเลือกกินอาหารอื่นที่มีปริมาณน้ำมากๆ อย่างพวกผักและผลไม้สดที่มีน้ำเยอะๆ ก็ได้ เช่น แตงโม และมะเขือเทศ หรืออาจจะเป็นเครื่องดื่มประเภทนม และน้ำผลไม้ก็ได้ แต่ก็ควรดูเรื่องแคลอรีด้วย หรืออาจจะใช้เทคนิค ง่ายๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำเช่น ดื่มน้ำทุกครั้งก่อนกินอาหาร นอก จากจะช่วยป้องกันการขาดน้ำได้ ยังช่วยให้ไม่กินมากเกินไปอีกด้วยและควรดื่มน้ำในแต่ละช่วงพักของวันด้วย หรือดื่มน้ำก่อน ระหว่าง และหลังออกกำลังกายให้เพียงพอ
        ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยพบคนที่ดื่มน้ำมากเกินไป แต่การดื่มน้ำ มากเกินไปก็กลายเป็นผลเสียได้ เพราะจะทำให้ไตขับเกลือแร่ออก มาด้วย ทำให้โซเดียมในเลือดต่ำเกินไป แต่กรณีที่คุณดื่มน้ำบ่อย หรือหิวน้ำบ่อยเกินไป อาจจะต้องทำการตรวจดูว่ามีโรคอะไรแอบแฝงอยู่หรือไม่ เช่น เป็นโรคเบาหวาน


credit Dr. Carebear
 
 

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.