ออกกำลังกายเวลาไหนดี มีผลอย่างไร

ออกกำลังกายเวลาไหนดี มีผลอย่างไร

ออกกำลังกายเวลาไหนดี มีผลอย่างไร

เรื่องเวลาของการออกกำลังกาย เป็นเรื่องข้องอกข้องใจกันมาก เพราะหลายคนสงสัยและอยากรู้ ว่าจะออกกำลังกายตอนไหนดี ระหว่างตอนเช้ากับตอนเย็น และหลายคนก็อยากได้ความกระจ่างว่า การออกกำลังกายผิดเวลา จะส่งผลเสียต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย อย่างไร
 
แต่ก่อนที่เราจะรู้ข้อดีข้อเสียของการออกกำลังกายในตอนเช้า หรือตอนเย็น ว่าเวลาไหนดีกว่ากัน เราควรมาทำความเข้าใจให้ตรง กันก่อนว่า ถ้าคุณไม่มีเวลา และไม่สามารถเลือกได้ว่าจะออกกำลัง กายตอนไหนดี ก็อย่าได้ไปกังวลแค่ท่องให้ขึ้นใจว่า การออกกำลัง กาย ไม่ว่าจะเวลาไหน ก็ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งนั้นแหละครับ
 
ซึ่งผลการวิจัยก็ยืนยันออกมาแล้วว่า การออกกำลังกายอยู่ เป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคอัลไซเมอร์ โรคอ้วน ฯลฯ ส่วนข้อมูลในการทำวิจัยเรื่องเวลาในการออกกำลังกาย ณ ตอนนี้ ก็ยังโต้เถียงกันไม่จบ เพราะบางวิจัยบอกว่าตอนเช้าดีกว่า และบาง วิจัยก็บอกว่าตอนเย็นดีกว่า เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว เรามาดูข้อเท็จจริง ของการออกกำลังกายระหว่างตอนเช้ากับตอนเย็นกันดีกว่าครับ ว่า จะแตกต่างกันอย่างไร
 

ข้อเท็จจริงของการออกกำลังกายในตอนเช้า
  • การออกกำลังกายในตอนเช้า มักจะทำได้จนเป็นนิสัย ทำให้ มีการออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ มากกว่าคนที่ออกกำลังกาย ในตอนเย็น
  • สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ การออกกำลังกาย ในตอนเช้าจะช่วยเรื่องการนอนหลับได้ดีกว่าการออกกำลังกายในตอนเย็น ซึ่งเรื่องการนอนก็จะมีผลต่อความอยากอาหาร คือ ถ้า นอนน้อยจะหิวบ่อยกว่า และจะทำให้ควบคุมน้ำหนักได้ยากกว่าสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก การออกกำลังกายในตอน เช้าจะช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดีกว่า ด้วยเหตุผลในเรื่องของฮอร์โมน ที่ร่างกายสร้าง ซึ่งจะสัมพันธ์กับ biological clock ในสมอง ในการ สร้างฮอร์โมน
  • อัตราการเต้นของหัวใจจะช้ากว่า หากออกกำลังกายใน ตอนเช้า
 
ข้อเท็จจริงของการออกกำลังกายในตอนเย็น
  • อุณหภูมิของร่างกายจะสูงสุดในช่วง 4-5 โมงเย็น จัดว่า เป็นเวลาที่เหมาะกับการออกกำลังกายมาก เพราะการเผาผลาญใน ร่างกายจะดีกว่าตอนเช้า
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Strength จะดีกว่าในตอนบ่าย โดยจะทำงานได้ดีกว่าประมาณ 5-10 %
  • ความทนทานของร่างกาย Endurance จะบอกถึงความอึด ในการออกกำลังกาย ประเภทเต้นแอโรบิก ซึ่งจะเพิ่มขึ้นในตอน บ่ายประมาณ 4%
  • โอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บจะมีน้อยกว่าการออกกำลังกายในช่วงบ่าย เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้กล้ามเนื้ออบอุ่นและมี ความยืดหยุ่นได้มากกว่า รวมทั้งความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มาก กว่า จึงช่วยลดการบาดเจ็บ
  • ควรเว้นช่วงห่างของการออกกำลังกายกับเวลานอนห่าง กันประมาณ 4-6 ชั่วโมง เป็นเพราะร่างกายยังมีความตื่นอยู่ จาก ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในขณะออกกำลังกาย
 
เมื่อรู้ข้อเท็จจริงกันไปแล้ว ก็หันกลับมาเรื่องเวลากันดีกว่า สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องเวลา ทางที่ดีคือ ควรจัดเวลาที่สะดวกที่สุด อย่างน้อยควรออกกำลังกายให้ได้ครั้งละ 30 นาที และควรมีการ สร้างกล้ามเนื้อและยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำทุกวันสำหรับการสร้างกล้ามเนื้อ อาจใช้วิธียกน้ำหนักสัปดาห์ละ ชั่วโมง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ท้อง หลัง และต้นขา เพราะกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้การเผาผลาญดีขึ้น ส่วนการยืดกล้ามเนื้อ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงานควรแบ่งเวลาให้สักครึ่งชั่วโมงเพื่อ ช่วยป้องกันอาการปวดหลัง และปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน หรือ จากการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ


credit Dr. Carebear

 
 

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.