กินอยู่อย่างไร ในเมืองร้อนๆ แบบบ้านเรา
ได้ยินเสียงบ่นประสานจากทั่วสารทิศค่ะ เรื่องสภาวะอากาศที่ร้อนแบบผิดปกติที่เคยประชดประเทียดกันว่าเมืองไทย
ค่ะ ว่ามี 2 ฤดู คือ ร้อนกับร้อนโคตรนั้น เห็นคงจะจริง
ค่ะ โดยทั่วไปร่างกายของเรามีวิธีลดอุณหภูมิ เพื่อรักษาสมดุลในร่างกายด้วยการขับเหงื่อ
ค่ะ จึงจะเห็นว่าเวลาที่อากาศร้อนมากๆนั้น เรามักจะเหงื่อไหลไคลย้อยกันเป็นแถว
ค่ะ นอกจากนั้น เส้นเลือดที่อยู่บริเวณผิวหนังจะขยายขึ้นให้เลือดมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น
ค่ะ เพื่อเป็นระบายความร้อนอีกทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เวลาเจอความร้อน เราจึงมักหน้าแดง เนื้อตัวแดง
ค่ะ แต่พอหายร้อน เส้นเลือดหดตัว เราก็จะกลับสู่ภาวะเดิม
ค่ะ
แม้ร่างกายของเราจะถูกออกแบบมาให้สามารถปรับสภาพให้คงที่ที่สุดเพื่อที่จะให้เซลล์ต่างๆ ทำหน้าที่ได้ตามปกติ แต่ก็จะเป็นการดียิ่งขึ้นหากว่าเราเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยให้ร่างกายอยู่ในภาวะธำรงดุลมากที่สุดนั้นเอง ขณะที่ศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีแบ่งอาหารเป็น “หยิน” หรืออาหารที่รับประทานแล้วทำให้รู้สึกเย็น และ “หยาง” หรือ อาหารที่ทำให้เกิดความร้อน
ค่ะ บ้านเราก็สั่งสมภูมิปัญญาชาวบ้านว่าด้วยศาสตร์การกินอาหารตามฤดูกาล
ค่ะ อาทิเช่น หน้าร้อนกินข้าวแช่ กินทุเรียนแล้วตามด้วยมังคุด
ค่ะ กินแกงดอกแคดักไข้หัวลม ดื่มน้ำสมุนไพรบางชนิด เป็นต้น
ค่ะ วันนี้มีข้อแนะนำเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินมาฝาก
ค่ะ เหมาะกับคนที่อยู่ในประเทศร้อนอบอ้าวเกือบจะทั้งปีแบบบ้านเรา ถ้าปฏิบัติตามได้ก็ลองดู
ค่ะ เผื่อจะทำให้รู้สึกสบายเนื้อตัวขึ้นบ้างนะค่ะ
- แทนที่จะจัดหนักในมื้อเดียว
ค่ะ ลองรับประทานอาหารเบาๆ มื้อเล็กๆ
ค่ะ แต่ถี่ขึ้นเริ่มมื้อเข้าด้วยข้าวต้ม โจ๊ก น้ำเต้าหู้ ตามด้วยน้ำผลไม้สด หรือผลไม้ที่ให้ฤทธิ์เย็น
ค่ะ อาทิเช่น แตงโม แอปเปิ้ล สาลี่ กล้วย สัปปะรด องุ่น มะละกอ เป็นต้น
ค่ะ
- เพิ่มผักในอาหาร
ค่ะ ง่ายที่สุดก็เป็นสลัดผักนี่แหละ
ค่ะ เพราะประกอบด้วยสารพัดผัด รวมถึงข้าวโพด แตงกวา มะเขือเทศ
ค่ะ ที่ล้วนแต่ให้น้ำเยอะ ทำให้เลือดไม่ข้น
ค่ะ และทำให้เย็นข้างในร่างกาย
ค่ะ
- ถ้าใช้เวลาอยู่กลางแจ้งจนโดนแดดเผาและรู้สึกร้อนระอุ ให้จิบชาเขียวเย็นๆ เน้นว่าเป็นชาเขียวแท้ธรรมชาติปลอดน้ำตาลนะค่ะ ไม่ใช่ชาเขียวขวดที่แต่งสี แต่งกลิ่น
ค่ะ เติมน้ำตาล
ค่ะ ชาเขียวธรรมชาติมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยบรรเทาเซลล์จากความเสียหายในการถูกแสงแดดทำลาย
ค่ะ
- สร้างความชุ่มชื่นให้ร่างกายด้วยการดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ
ค่ะ สัก 8-10 แก้วหรือมากกว่านั้น
ค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าร่างกายเสียน้ำมากน้อยแค่ไหน
ค่ะ อยากสดชื่นขึ้น ลองน้ำผึ้งผสมน้ำมะนาว
ค่ะ นอกจากให้ความชื่นใจแล้วยังช่วยเพิ่มพลังอีกด้วย
ค่ะ
- น้ำสมุนไพรบางอย่าง
ค่ะ อาทิเช่น ใบบัวบก ใบเตย ว่านหางจระเข้ กระเจี๊ยบ เก๊กฮวย รากบัว
ค่ะ ช่วยคลายร้อนก็จริง แต่ถ้าผสมน้ำตาลเยอะ แล้วดื่มบ่อยเกินไปก็อาจทำให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์พุ่งได้
ค่ะ
- เช่นกันกับน้ำสมุนไพร บรรดาน้ำผลไม้ต่างๆ
ค่ะ ดื่มแล้วให้ความสดชื่น
ค่ะ แต่ให้ระวังเรื่องน้ำตาลด้วยนะคะ มากไปไม่ดีแน่นอน
ค่ะ
- หลีกเลี่ยงอาหารปิ้ง ย่าง ทอด หรือรมควัน
ค่ะ เพราะถือเป็นอาหารหยางหรืออาหารที่ให้ฤทธิ์ร้อน
ค่ะ
- หลีกเลี่ยงเนื้อแดง หรือเนื้อที่มีไขมันสูงค่ะ เพราะเพิ่มแคลอรีเกินความจำเป็นค่ะ เปลี่ยนมารับประทานปลาบ้างจะดีกว่าค่ะ
- อากาศร้อนอาจทำให้กระหารเครื่องดื่มเย็นๆค่ะ แต่ถ้าดื่มของที่เย็นจัดมากเกินไปนั้น จะทำให้รบกวนระบบการย่อยและการระบายเหงื่อของร่างกายได้ค่ะ ดื่มให้พอดีและเปลี่ยนมารับประทานผลไม้เย็นๆค่ะ อาทิเช่น แตงโม แตงไทย หรือสาลี่ดูค่ะ
- กรรมวิธีในการปรุงอาหารก็มีส่วนทำให้อาหารแต่ละอย่างมีฤทธิ์เป็นหยิน หรือ หยาง
ค่ะ อย่างเนื้อวัวมีฤทธิ์เป็นกลาง
ค่ะ แต่ถ้านำไปทอดหรือย่างจะทำให้กลายเป็นอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน
ค่ะ ถ้าใช้วิธีนึ่ง ต้ม หรือตุ๋นจะทำให้รับประทานแล้วไม่รู้สึกร้อน
ค่ะ
ตบท้ายด้วยข้อมูลเกี่ยวกับอาหารร้อน (หยาง) เย็น (หยิน) และอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกลาง
ค่ะ
อาหารที่มีฤทธิ์เย็น ประกอบด้วยหน่อไม้ กล้วย มะระ หอย
ลูกพลับ ส้มโอ ผักกาดหอม เกลือ
ปู สาหร่าย มะเฟือง อ้อย แตงโม
แห้ว รากบัว แตงกวา เต้นหู้ ไข่ขาว
ข้าวบาร์เลย์ สาลี่ สะระแหน่ สตรอเบอร์รี่
หัวไชเท้า ส้มเช้ง โยเกิร์ต บร็อคโลลี กะหล่ำดอก
บวบ ข้าวโพด มะเขือเทศ สัปปะรด และขมิ้นค่ะ
อาหารที่มีฤทธิ์ร้อน นั้นได้แก่ พริกไทย ขิง น้ำมันถั่วเหลือง
อบเชย พริกไทยอ่อน กุ้ง น้ำตาลไม่ฟอก
ไก่ เชอร์รี่ มะพร้าว กาแฟ
กุยช่าย ผักชี ขึ้นฉ่าย ปลาไหล กระเทียม
อินทผลัม ฝรั่ง ลำไย เนื้อแกะ ลูกจันทน์ ลูกพีซ
แฮม ทุเรียน กะเพรา น้ำส้มสายชู ขนุน ทุเรียน ต้นหอม
ถั่ววอลนัท มะม่วง ส้มเขียวหวาน เม็ดบัว นม ผลมะกอก หอยนางรม
องุ่น มะละกอค่ะ
อาหารที่เป็นกลางประกอบด้วย ข้าวโพด เนื้อวัว เนื้อหมู
น้ำผึ้ง บีทรูท เห็ดหูหนูทั้งดำและขาว เซเลอรี่ (ขึ้นฉ่ายฝรั่ง) ไข่แดง
แครอท เป็ด ลูกมะเดื่อ ฟักทอง ถั่วแดง เมล็ดทานตะวัน
มันฝรั่ง มันเทศ ถั่วลันเตา ลูกเกด ข้าวกล้อง
เผือก และแอปเปิ้ลค่ะ
อาหารมีผลต่อร่างกายแน่นอนค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องระวังไปทุกฝีก้าวจนทำให้เสียอรรถรสในการกิน เพียงแค่ให้มีข้อมูลค่ะ และรู้เท่าทันในการบริโภคบ้างก็คงจะดีกว่าอาศัยสัญชาตญาณอย่างเดียวค่ะ
credit หนังสือ THE FIRST WEALTH IS HEALTH กินดีอยู่ดี
ผู้เขียน วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์ ผู้ให้สาระ และ ความรู้ที่น่าสนใจ