ปวดท้องน้อย สาเหตุ และวิธีรักษา

ปวดท้องน้อย สาเหตุ และวิธีรักษา

ปวดท้องน้อย สาเหตุ และวิธีรักษา

          อาการปวดท้องน้อยของพวกผู้หญิง ดู เหมือนจะกลายเป็นเรื่องความเคยชินไปซะแล้วเพราะส่วนมากต่างก็จะพุ่งประเด็นไปที่เรื่องของ การปวดประจำเดือนเป็นอันดับแรก และในกรณีที่ปวดประจำเดือน จริงๆ บางคนอาจปวดแบบรุนแรง ชนิดที่ต้องหยุดงานกันเลย แต่ สำหรับบางคน ก็อาจจะปวดเล็กๆ น้อยๆ กันทุกเดือนจนเป็นขา ประจำกันไป
 
          ถ้าไม่นับรวมช่วงที่มีประจำเดือน ก็มีสาเหตุมากมายที่ทำให้ เกิดอาการปวดท้องน้อยได้ เช่น ถุงน้ำที่รังไข่แตก ท้องนอกมดลูก ติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ ฯลฯ แต่ก็มีหลายคนที่ปวดแบบไม่มีสาเหตุ แต่จริงๆ แล้วอาการปวดท้องน้อย ยิ่งถ้าเป็นอาการปวดแบบรุนแรง หรือเฉียบพลัน ถือว่าเป็นการร้องบอกถึงสิ่งผิดปกติที่อยู่ภายใน แล้วล่ะครับ เพราะบางคนนึกว่าไม่เป็นอะไร แต่สุดท้ายก็ต้องผ่าตัด เพราะถุงน้ำที่รังไข่แตก
 
          อาการปวดท้องน้อยไม่ใช่เรื่องสามัญประจำบ้าน ฉะนั้น ขณะ ที่คุณมีอาการ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงมีประจำเดือนหรือไม่ ก็ควรสังเกต อาการกันสักหน่อย ว่าปวดในลักษณะแบบไหน เพราะลักษณะ อาการปวดจะมีความสำคัญในการให้ข้อมูลกับแพทย์ เพื่อช่วยใน การวินิจฉัยโรค เพราะสิ่งที่แพทย์จะถาม คือ
  • ความรุนแรงในการปวด เช่น ปวดแบบเฉียบพลันรุนแรง หรือ ปวดไม่มากแต่เรื้อรัง หรือปวดรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ตำแหน่งที่ปวด เช่น ปวดตรงกลาง ปวดด้านซ้าย หรือปวด ด้านขวา
  • ความถี่ของการปวด เช่น ปวดทุกเดือน หรือปวดไม่แน่นอน เพราะถ้าปาติติติต่อกันเกิน 6 เดือน ถือว่าเป็นการปวดแบบเรื้อรัง
 
ส่วนเรื่องสาเหตุของ การปวดท้องน้อยนั้น แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นแบบ เฉียบพลัน และกลุ่มที่ สองเป็นแบบเรื้อรัง
 
ซึ่งการปวดแบบเฉียบพลัน จะเป็นอาการปวดที่เกิดจาก สาเหตุเพียงอย่างเดียวและไม่ซับซ้อน ส่วนการปวดแบบเรื้อรัง มัก จะมีปัญหาหลายอย่างพร้อมกัน
 

สาเหตุของการปวดแบบเฉียบพลัน ได้แก่
  • การติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ เช่น มดลูก ปีกมดลูก และรังไข่ อาจมีไข้ร่วมด้วย การปวดจะไม่รุนแรงมาก แต่ถ้าการติดเชื้อนั้น
เกิดจากทางเดินปัสสาวะ มักจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ขุ่น หรือมี เลือดปน
  • ถุงน้ำที่รังไข่ โดยปกติรังไข่จะมีการเกิดถุงน้ำขึ้นก่อนตกไข่และถุงน้ำก็จะสลายไปเองใน 1-2 วัน แต่บางครั้งถุงน้ำก็ไม่ยอม สลายไป ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดตื้อๆ แบบไม่รุนแรง แต่บางที่จะ มีอาการปวดในช่วงกลางรอบเดือน เนื่องจากมีการตกไข่ ซึ่งการ วินิจฉัยของแพทย์นั้น จะได้จากการตรวจภายใน หรือทำอัลตรา-ซาวน์ช่องท้องส่วนล่าง วิธีนี้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ถ้าเป็นถุงน้ำขนาด ใหญ่ที่ไม่ยอมสลายไปภายใน 3 เดือน ก็คงต้องผ่าตัดออกไป
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก ส่วนใหญ่จะพบบริเวณปีกมดลูก อาการคือ ปวดด้านข้าง และมีเลือดออกคล้ายเลือดประจำเดือน แต่ มีปริมาณน้อยมาก ถ้าเป็นภาวะเช่นนี้ ก็จำเป็นต้องรีบรักษาแบบ ฉุกเฉิน เพราะอาจทำให้ท่อรังไข่แตกและมีการตกเลือดในช่องท้อง ซึ่งอันตรายถึงชีวิตถ้ารักษาไม่ทัน
 
สาเหตุของการปวดแบบเรื้อรัง ได้แก่
  • ภาวะปวดประจำเดือน Dysmenorrhea ถึงแม้ว่าการปวด ประจำเดือนจะเกิดได้กับผู้หญิงทุกคน แต่บางคนจะมีอาการรุนแรง มาก ส่วนสาเหตุที่เกิดจากฮอร์โมน Prostaglandins ซึ่งสร้างโดย เซลล์ที่ผนังมดลูก ทำให้เกิดการเกร็งของมดลูก
  • การปวดจากการตกไข่ Ovulation pain จะปวดกลางรอบ เดือนขณะที่มีการตกไข่ แต่บางคนอาจจะเป็นทุกเดือน
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ Endometriosis เป็นเพราะเนื้อเยื่อมดลูกไปอยู่ในบริเวณรังไข่ ท่อรังไข่ หรือบริเวณช่องท้องน้อย ทุกวันนี้ก็ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดภาวะเช่นนี้ สำหรับ อาการปวดจะมีความรุนแรง และจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกเดือน เพราะเลือดที่ถูกสร้างขึ้นโดยเยื่อบุโพรงมดลูก ไม่สามารถขับออก มาได้ อย่างที่เห็นเป็นถุงน้ำที่มีเลือด หรือที่เรียกว่า chocolate cyst
  • เนื้องอกที่มดลูก ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ก็อาจทำให้เกิด อาการปวดได้ เพราะมีการไปกดเบียดอวัยวะอื่น แต่บางคนอาจมี ประจำเดือนมาผิดปกติ ซึ่งส่วนหนึ่งจะสัมพันธ์กับฮอร์โมน Estrogen
Dr. Carebear

 

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.