ปวดเข่า เกิดจากอะไร และวิธีการรักษา
อาการปวดเข่า ไม่ว่าจะปวดน้อย ปวดมาก ปวดๆ หายๆ หรือปวดด้านหน้า ปวดด้านข้างและปวดด้านหลัง ต่างก็ล้วนเป็นสัญญาณ เตือนภัยสุขภาพ
อาการปวดเข่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะหัวเข่าเป็นข้อที่ ใหญ่ที่สุดของร่างกาย และก็พบว่ามีการบาดเจ็บมากที่สุดเช่นกัน และ หลายครั้งก็มักจะเกิดจากการเล่นกีฬาหรือจากอุบัติเหตุ แต่บางคน ก็อาจปวดเข่าโดยไม่รู้สาเหตุ แต่ตำแหน่งที่มีอาการปวดจะช่วยบอกได้ว่า ปัญหาเกิดขึ้นจากส่วนใด และก็มี 3 ตำแหน่งที่มักจะมี อาการ ดังนี้
- อาการปวดที่บริเวณด้านหน้าของหัวเข่า อาจเกิดจากการ อักเสบของข้อหรือกระดูกอ่อนที่สะบ้า
- อาการปวดต้านข้างของเข่า อาจเกิดจากการบาดเจ็บของ เส้นเอ็นด้านข้าง collateral ligament ข้ออักเสบ หรือมีการฉีกขาด ของกระดูกอ่อน rmeniscus
- อาการปวดทางด้านหลัง อาจจะเกิดจากข้ออักเสบ หรือมี ถุงน้ำที่เรียกว่า Baker's cyst ซึ่งจะเกิดเป็นก้อนปูตออกมาที่ด้าน หลังหัวเข่า
สาเหตุของการปวดเข่า
อาการปวดเข่ามีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น มีการอักเสบของ ข้อเข่า เส้นเอ็นฉีกขาด ข้อเข่าเสื่อม และมีการติดเชื้อ ซึ่งการปวดข้อเข่าส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการใช้งานหนักหรือการใช้งานไม่ถูกวิธี หรือบางครั้งก่อนออกกำลังกายไม่มีการ warm up warm down และ การยืดกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ สำหรับกรณีบาดเจ็บ ถ้าเป็นเพียงเล็ก น้อยก็อาจจะหายเองได้ แต่ถ้าบาดเจ็บรุนแรงก็อาจถึงขั้นผ่าตัด
ถัดจากนี้ ผมจะไล่เลี้ยงให้ดูกันว่า อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุ ว้างๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดได้
- มีอาการข้ออักเสบจากโรคข้อ เช่น รูมาตอยด์ ข้อเสื่อม และเก๊าต์
- ถุงน้ำภายในข้อหรือเยื่อหุ้มข้ออักเสบ burstitis ซึ่งเกิดจาก การใช้งานหนัก และมีความดันภายในข้อมากเกินไป เช่น นั่งยองๆเป็นเวลานานๆ หรือเกิดจากการบาดเจ็บ
- เส้นเอ็นอักเสบ มักปวดทางด้านหน้าของหัวเข่า อาการจะ มากขึ้นเวลาขึ้นลงบันได และโดยมากจะเกิดกับนักวิ่งและนักปั่นจักรยาน
- ถุงน้ำน้ำBaker's เป็นถุงน้ำบวมที่ด้านหลังของข้อ
- การฉีกขาดของกระดูกอ่อน จะรู้สึกปวดทั้งภายในและนอก ข้อ มักจะเกิดในขณะเล่นกีฬา หรือมีการหมุนตัว บิดข้อเข่าอย่าง รวดเร็ว และจะมีอาการปวดรุนแรงขึ้นมาทันทีทันใด
- การเคลื่อนของกระดูกสะบ้า
- การติดเชื้อที่ข้อ
- การฉีกขาดของเส้นเอ็น มักจะเกิดในขณะ เล่นกีฬา หรือมีการหมุนตัวบิตข้อเข่าอย่าง รวดเร็ว และจะมีอาการปวดรุนแรงอย่างฉับ-พลัน
- การเคล็ดถึงอักเสบของกล้ามเนื้อ
หลายครั้งที่สาเหตุของการปวดเข่ามาจากการใช้งานเข่ามาก เกินไป หรือเกิดจากการออกกำลังกาย ซึ่งถือว่าเกิดจากกิจกรรมที่ เราทำ สำหรับบางคนอาจจะบ่อยครั้งหรือบางคนก็อาจจะทุกวันดังนั้น การยับยั้งหรือบรรเทาอาการ ถือเป็นพื้นฐานในการดูแลตัวเอง เช่นพักการใช้งานบ้าง และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้หัวเข่า มาก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บซ้ำเติม
- ประคบน้ำแข็งประมาณ 15 นาที ควรทำทุกชั่วโมงติดต่อกัน 4 ชั่วโมง
- ยกขาให้สูงขึ้น และพันด้วยผ้า หรือสวม knee support
- กินยาลดอาการปวดและยาคลายกล้ามเนื้อ
- เวลานอนให้หาหมอนมาหนุนไว้ใต้หัวเข่า
สัญญาณเตือนที่ต้องไปพบแพทย์ทันที
- ไม่สามารถยืนหรือทิ้งน้ำหนักตัวลงได้
- อาการปวดรุนแรง
- มีเสียงผิดปกติของเข่า เช่น เสียงคลิก หรือรู้สึกว่าเข่าล็อก ขยับไม่ได้
- รูปร่างผิดปกติ
- มีไข้ บวมแดงร้อนของหัวเข่า
- อาการปวดไม่ดีขึ้น หลังจากดูแลด้วยตัวเองเกินกว่า 3 วันแล้ว
สิ่งที่แพทย์ตรวจคือ การตรวจร่างกายอย่างละเอียด แต่ที่สำคัญ คือ การซักถามประวัติ เช่น มีอาการเมื่อไหร่ เคยมีอาการแบบนี้มา ก่อนหรือไม่และเพราะอะไร เป็นมานานหรือยัง รู้สึกปวดตลอดเวลา หรือปวดๆ หายๆ ปวดข้างเดียวหรือสองข้าง ปวดตรงตำแหน่งไหน ของหัวเข่า ปวดจุดใดจุดหนึ่งหรือทั้งหมด ถ้าขยับเดินหรือวิ่ง จะมี อาการอย่างไร เคยบาดเจ็บที่หัวเข่ามาก่อนหรือไม่ กิจกรรมที่ทำ ทุกวันและลักษณะในการใช้งานหัวเข่า และเคยได้รับการรักษาด้วย วิธีใดมาก่อนและผลเป็นอย่างไร
เมื่อแพทย์ได้ข้อมูลที่ประโยชน์จากการซักประวัติแล้ว จาก นั้นก็จะทำการส่งตรวจเพิ่มเติม อาจจะเอ็กซเรย์ข้อ หรือทำ MRI ในกรณีที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนในเข่า หรือถ้ามีการบวมมาก อาจจะต้องเจาะน้ำในเข่าส่งตรวจ เมื่อได้รับ การวินิจฉัยแล้ว แพทย์ก็จะให้การรักษาด้วยยาหรือทำกายภาพบำบัด หรือผ่าตัดส่องกล้องหัวเข่า ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและความรุนแรง
แต่ที่สำคัญที่สุด
คือ การป้องกัน การใช้งานอย่างระมัดระวัง ควรฝึกกล้ามเนื้อ ต้นขาให้แข็งแรง และควรมีการยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังเล่นกีฬา เป็นประจำ
credit Dr. Carebear