เจ็บใต้ฝ่าเท้าเวลายืน เวลาเดิน สาเหตุ และวิธีการรักษา

เจ็บใต้ฝ่าเท้าเวลายืน เวลาเดิน สาเหตุ และวิธีการรักษา

เจ็บใต้ฝ่าเท้าเวลายืน เวลาเดิน สาเหตุ และวิธีการรักษา

คุณเคยฉุกคิดมั้ยครับว่าอาการเจ็บใต้ฝ่าเท้า กำลังเตือนอะไรเรา
 
เพราะเท้าเป็นส่วนที่ต้องรองรับน้ำหนักตัวเวลาที่เรายืนหรือเดินถ้าเกิดอาการเจ็บที่ใต้ฝ่าเท้า อย่าได้ทำเพิกเฉย หรือมัวแต่คิดว่าเจ็บแค่นิดๆ หน่อยๆ เดี๋ยวก็หาย ไม่ได้เด็ดขาด! เพราะสาเหตุของการเจ็บที่ใต้ฝ่าเท้าหรือส้นเท้า มันเกิดจากการอักเสบหรือการระคายเคืองของพังผืดที่คอยพยุงโค้งใต้ฝ่าเท้าไว้ ซึ่งเรียกว่า Plantarfasciitis
 
โดยปกติแล้ว พังผืดที่อยู่ใต้ฝ่าเท้า จะทำหน้าที่คอยรองรับแรงกระแทกเวลาที่เราก้าวเดิน แต่บางครั้ง แรงกดดันที่มากเกินไป อาจทำให้มีการทาลาย หรือมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ ซึ่งร่างกายจะตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บนี้โดยการเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้เรารู้สึกเจ็บและตึงที่ใต้ฝ่าเท้า และคนที่มีอาการส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยรู้ว่าต้นเหตุที่ทำให้มีอาการนั้นเกิดจากอะไร เมื่อเป็นเช่นนั้น หมอหมีก็จะขอไล่เลียงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการ ว่ามีอะไรบ้าง
 
  • กล้ามเนื้อน่องที่มีอาการตึงเกินไป เนื่องจากขาดความยืดหยุ่นที่ดี
  • ความอ้วน   
  • โค้งฝ่าเท้าที่ใหญ่ผิดปกติ
  • การเดินมากหรือวิ่งเกินไป
  • มีกิจกรรมประจำวันที่เพิ่มมากขึ้น หรือกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน
 
ถึงแม้ว่าหลายๆ คนที่มีการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าจะมีกระดูกงอกที่ส้นเท้า แต่ตัวกระดูกที่งอกนี้ก็ไม่ได้ทำให้มีอาการเจ็บอะไร ซึ่งก็พบว่า ประมาณ 1 ใน 10 ของคนทั่วไป จะมีกระดูกงอกแต่จะมีเพียง 5% ของคนที่กระดูกงอก แล้วมีอาการเจ็บใต้ฝ่าเท้า ดังนั้น ถ้าตรวจพบว่ามีกระดูกงอก ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดออก
อาการที่บ่งบอกว่ามีพังผืดอักเสบ ก็มีรู้สึกเจ็บที่บริเวณใกล้ ส้นเท้า มีอาการเจ็บมากเมื่อเดินสองสามก้าวแรกหลังจากตื่นนอน หรือหลังจากนั่งรถนานๆ แต่อาการเจ็บจะตีขึ้นในไม่กี่นาทีหลังจาก เริ่มเดิน และอาการปวดจะมากขึ้นหลังออกกำลังกาย (แต่ขณะออก กำลังกายอาจยังไม่เจ็บ)
 

การรักษาและการดูแล
  • มากกว่า 90% ของคนป่วย จะดีขึ้นภายใน 10 เดือน โดย การรักษาแบบง่ายๆ คือ พักการใช้งานของเท้า ด้วยการลดกิจกรรม ต่างๆ ที่ต้องทำให้เจ็บเท้า เช่น เดิน วิ่ง และเต้น
  • การใช้น้ำแข็งประคบหรือจะแช่น้ำเย็นก็ได้ประมาณ 20 นาที ซึ่งวิธีนี้อาจทำ 3-4 ครั้งต่อวัน
  • การให้ยาลดการอักเสบของพังผืด จะช่วยลดอาการเจ็บ และลดการอักเสบได้ แต่ถ้าใช้ยาติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ ควรอยู่ ภายใต้การดูแลของแพทย์
  • การบริหารกล้ามเนื้อ เพราะบางครั้งอาจมีการตึงของกล้าม เนื้อน่อง ฉะนั้น จึงควรบริหารด้วยการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อเป็นการ ช่วยลดอาการ
 
การใส่อุปกรณ์ช่วย (support)
ใส่รองเท้าที่ส้นหนาขึ้น และมีแผ่นลดแรงกระแทก จะช่วยลด อาการเจ็บเวลายืนหรือเดินได้ เพราะการยืนหรือเดินบนพื้นรองเท้า ที่แข็งๆ จะทำให้เกิดการฉีกขาดแบบเล็กๆ ที่พังผืดได้ หรือการใส่ ซิลิโคนนุ่ม ๆ รองไว้ในรองเท้าก็ใช้ได้ แถมราคาก็ไม่ค่อยแพง แต่ สำหรับบางคน อาจจำเป็นต้องสั่งตัดอุปกรณ์เสริมรองเท้าเพื่อเป็น การรักษา นอกจากนี้ การใส่อุปกรณ์ยึดข้อเท้าในตอนกลางคืน ก็เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งสำหรับคนที่มีปัญหา คือ ขณะหลับปลายเท้าจะชี้ลงซึ่งลักษณะแบบนี้ จะทำให้เกิดอาการมากขึ้นในตอนเช้า จึงจำเป็น ต้องใส่อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันไว้
 

credit Dr. Carebear

 

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.