อาการเจ็บตา ไม่หาย วิธีวินิฉัย และการรักษา

อาการเจ็บตา ไม่หาย วิธีวินิฉัย และการรักษา

อาการเจ็บตา ไม่หาย วิธีวินิฉัย และการรักษา

เห็นหลายคนชอบบ่นว่าเจ็บตาอยู่เรื่อย แต่พอบ่นเสร็จ ก็จบกัน อ้าว! ทำเอาหมอหมีอึ้ง ก็เลยต้องแอบบ่นในใจบ้าง แล้วไม่คิดจะไปตรวจ หรือหาสาเหตุของการเจ็บตาบ้างเลยเหรอ!
 
การร้องขอความช่วยเหลือของดวงตา ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเหมือนเรื่องเป็นสิวนะครับ อย่าลืมว่าดวงตาเป็นอวัยวะส่วนที่เปราะบางและง่ายต่อกันติดเชื้อ หากมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย ดวงตาก็จะมีอาการแล้วครับ เพราะฉะนั้น หมอหมีก็จะขอนำเรื่องสาเหตุและการรักษาอาการเจ็บตามาบอกกล่าวกัน
อาการเจ็บตาอาจจะมีหลายแบบ บางคนมีอาการคัน บางครั้งรู้สึกเจ็บ แสบ ร้อน ปวดตื้อๆ หรือหนักๆ บางครั้งก็รู้สึกเหมือนมีอะไรติดอยู่ในตา บางทีก็เกิดร่วมกับอาการของโรคอื่นๆ เช่น ปวดหัวไมเกรน ปวดไซนัส ปวดฟัน หรือปวดหัวจากสาเหตุอื่นๆ


สาเหตุของการปวดตา
สาเหตุที่ทำให้ปวดตา จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรกจะเป็นการปวดจากผิวนอกของดวงตา และกลุ่มที่สองจะเป็นการปวดในดวงตา
 

อาการปวดจากผิวนอกของดวงตา Ocular pain
สาเหตุเกิดจาก
  • เยื่อบุตาอักเสบ Conjunctivitis เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด เช่นจากการแพ้ การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส จากสารเคมี ที่ทำให้เกิดการอักเสบของตาขาว ทำให้เกิดอาการตาแดง คัน มีขี้ตา และน้ำตามาก
  • การถลอกของกระจกตา (ตาดำ) Corneal abrasions หรือแผลที่กระจกตา corneal ulcerations เป็นอีกสาเหตุที่พบกันบ่อย กระจกตาหรือตาดำ เป็นส่วนผิวของตาที่มีความใส การถลอกจะเกิดขึ้นเมื่อมีวัตถุไปพูดที่ผิวของตาดำ หรือจากของที่กระเด็นเข้าตาหรือจากการใช้คอนแทคเลนส์ไม่ถูกวิธี ถ้าเป็นมากจะเกิดการติดเชื้อและทำให้เกิดแผลที่ตาดำได้
  • สารเคมีและความร้อน เช่น กรดด่าง จากน้ำยาทำความสะอาด หรือสารเคมีอื่นๆ ความร้อน เช่นการเชื่อมเหล็ก การทำงานกับความร้อนสูง สามารถป้องกันได้โดยใส่เครื่องป้องกัน หรือใส่แว่นป้องกัน
  • ตากุ้งยิง คือ การอักเสบของเปลือกตา ซึ่งเกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันที่เปลือกตาจะมีอาการปวดมาก และอาจจะเป็นมากถึงขั้นเป็นหนอง
อาการปวดในดวงตา จะมีอาการปวดซื้อ ๆ ลึก ๆ ใน  
ลูกตา
สาเหตุเกิดจาก
  • ต้อหิน Glaucoma จะทำให้มีอาการปวดตา ถึงแม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการต้อหินคือภาวะที่ความดันในลูกตาสูงกว่าปกติทำให้มีผลต่อการมองเห็นและอาจจะทำให้ตาบอดได้ถ้าไม่รักษาส่วนสาเหตุที่ความดันลูกตาสูงขึ้นก็เป็นเพราะ มีการอุดตันของน้ำที่อยู่ในลูกตา หรือมีการผลิตมากกว่าปกติการอักเสบของม่านตา
  • การอักเสบของเส้นประสาทตา ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือ multiple sclerosis จะทำให้ปวดตา และการมองเห็นผิดปกติ
  • ไซนัสอักเสบ
  • ไมเกรน
 
ลักษณะอาการปวดที่พบได้อาจจะแตกต่างกันใน แต่ละคน
  • ปวดรอบๆ ดวงตา
  • การมองเห็นผิดปกติไป
  • ตาสู้แสงไม่ได้
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • เห็นเป็นวงแสง หรือเห็นเป็นวงรอบๆ แสงไฟ Halos
  • เห็นเหมือนมีจุดลอยไปมา
  • การกรอกลูกตาได้จำกัด
  • เจ็บตาเมื่อมีการเคลื่อนไหวตาไปทิศทางที่แตกต่างกัน
  • ปวดหัวและปวดตารุนแรง
 
การตรวจร่างกายโดยแพทย์จะสามารถตรวจพบ ความผิดปกติ เช่น
  • ตาแดง จากเยื่อบุตาอักเสบ
  • ตาแดง ที่กระจายออกมาจากตาดำ
  • รูม่านตามีรูปร่างผิดปกติไป
  • ลักษณะลูกตาที่โปนมามากกว่าปกติ
  • การบวมหรือแดงรอบดวงตา เช่น เปลือกตา  
  • มีเลือดหรือมีหนองในตาดำ
  • มีหนอง หรือขี้ตา หรือน้ำตาไหลมากผิดปกติ
  • รอยถลอกหรือแผลที่กระจกตา
 
อาการที่ควรจะไปพบแพทย์ทันที
  • อาการปวดตาที่เกี่ยวข้องกับการถูกสารเคมีหรือถูกความร้อน
  • มีการมองเห็นที่ผิดปกติ หรือการเคลื่อนไหวของลูกตาผิดปกติ ปวดเวลากรอกลูกตา ตาบวมมาก มีหนองหรือปวดหัวรุนแรง
  • จากอุบัติเหตุ เช่น การกระแทก อุบัติเหตุรถยนต์ หรือถูกวัตถุกระเด็นเข้าตา
 
การตรวจและการทดสอบ
เริ่มต้นจากการสอบถามอาการและลักษณะการปวด ประวัติโรคประจำตัวต่างๆ ประวัติในครอบครัว แพทย์จะทำการตรวจตาโดยการเช็กสายตา ตรวจดาและรอบๆ ตา ตรวจการเคลื่อนไหวและ
การตอบสนองของม่านตา จากนั้นจะใช้เครื่องมือตรวจเพื่อตรวจจอประสาทตาและเส้นเลือดและตรวจดูส่วนต่างๆ ของตา ตั้งแต่กระจกตา และมีการตรวจความดันลูกตา ในบางครั้งจะต้องมีการหยอดยาเพื่อทำการตรวจหรือทำการรักษาด้วย


การรักษา
 
การดูแลตัวเองที่บ้าน
อาจจะเริ่มต้นด้วยการล้างตาด้วยน้ำเปล่า เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา หรือมีสารเคมีเข้าตาควรล้างตาด้วยน้ำสะอาด ถ้าคิดว่ามีสิ่งแปลกปลอมในตา อย่าขยี้ตา เพราะอาจจะทำให้มีการบาดเจ็บมากขึ้นจากการที่สิ่งแปลกปลอมนั้นไปบาตกระจกตามากขึ้นการล้างตาเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ถ้าสงสัยว่าติดอยู่ที่กระจกตาควรให้แพทย์เป็นผู้ดูแล หากอาการปวดไม่รุนแรง สามารถซื้อยาแก้ปวดทานได้เอง และหลีกเลี่ยงแสงจ้า
 

การรักษาด้วยยา
  • ตาแดง (เยื่อบุตาอักเสบ) Conjunctivitis ถ้าเป็นการติดเชื้อจะให้ยาแก้อักเสบหยอดตา หรือแบบขี้ผึ้งป้ายตา และให้ยาแก้ปวดส่วนถ้าเกิดจากการแพ้ จะให้หยอดยาแก้แพ้ พวก antihistamine
  • การถลอกหรือแผลที่กระจกตา หลักการสำคัญคือ ป้องกันการติดเชื้อ จึงจำเป็นต้องให้ยาแก้อักเสบหยอดตา หรือชนิดขี้ผึ้งายตาด้วย
  • สิ่งแปลกปลอมเข้าตา จะมีหลายเทคนิคในการเอาออก ตั้งแต่การล้างตา การใช้ไม้พันสำลีค่อยๆ เขี่ยออก หรือการใช้ปลายเข็มเขี่ยออก กระทั่งการใช้เครื่องมือแพทย์เข้าช่วย หลังจากจัดการเอาสิ่งแปลกปลอมออกแล้ว ก็ต้องดูว่ามีแผลหรือไม่และต้องให้ยาป้องกันการติดเชื้อเช่นกัน
  • การบาดเจ็บจากสารเคมี หรือความร้อน เริ่มแรกต้องล้างตาด้วยน้ำในปริมาณมาก เพื่อล้างสารเคมีออกให้หมด อาจจะให้ยาชาหยอดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ จากนั้นจะตรวจดูความเป็นกรดด่างจนกระทั่งไม่มีความเป็นกรดต่างเหลืออยู่ แพทย์ก็จะตรวจดูว่ามี การบาดเจ็บรุนแรงแค่ไหนและให้การรักษาต่อไป ส่วนที่เกิดจาก ความร้อน จะพบว่าอาจมีการถลอกของกระจกตา ดังนั้นจะให้ยาแก้อักเสบหยอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ตากุ้งยิง เริ่มต้นอาจจะเริ่มด้วยการใช้ผ้าอุ่น ๆ ประคบประมาณ 15-20 นาที ร่วมกับการให้ยาแก้อักเสบ แต่ถ้าสองสัปดาห์ แล้วยังไม่ดีขึ้น อาจจะต้องทำการผ่าเอาหนองออก
  • ต้อหิน มีวิธีรักษาหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงชนิดที่รุนแรงอาจจะทำให้ตาบอดได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งต้อง รักษาแบบฉุกเฉิน โดยทั่วไปจะให้ยาหยอดตาที่เป็นกลุ่ม beta-blocker ในบางรายอาจจะต้องทำการผ่าตัด
Dr. Carebear

 

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.