ประสบการณ์ในช่วงแรกเกิด พัฒนาสมองลูกได้อย่างไร

ประสบการณ์ในช่วงแรกเกิด พัฒนาสมองลูกได้อย่างไร

ประสบการณ์ในช่วงแรกเกิด พัฒนาสมองลูกได้อย่างไร


              นักวิทยาศาสตร์แต่เดิมเชือว่าคนเราจะเฉลียวฉลาดหรือไม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางพันธุกรรมหรือยีนเท่านั้น จากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่าประสบการณ์ในช่วงเริ่มแรกของชีวิตมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสมองในระดับโครงสร้างและขนาดซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาระบบสมองนระยะยาวหรือจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ประสบการณวัยเริมแรกนี้คือการจัดสิงแวดล้อมที่มีความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ให้ลูกการสร้างความสัมพันธ์อันนาประทับใจและการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ให้ทั้งความรักความอบอุ่นจะมีผลต่อการกระตุ้นสมองส่วนรับรู้สัมผัสที่ทำให้ทารกมีความพึงพอใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งรอบตัวนอกจากพันธุกรรมที่พ่อแม่ถ่ายทอดให้  แล้วสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมยังเป็นอีกปัจจัยทีมีอิทธิพลสำคัญต่อความเฉลียวฉลาดของลูก ประกอบกับสมองของวัยแรกเกิดมีการเติบโตอย่างรวดเร็วเป็น 2 เท่าตัวทุกขณะที่ลูกมีโอกาสรับรู้สิ่งรอบตัว และสะสมประสบการณ์ก็เท่ากับสนับสนุนให้สมองทำงานมากขึ้น ดังนั้นในช่วงแรกของชีวิตลูกยิ่งให้ประสบการณ์ทีเหมาะสมกับวัยเท่าใดคุณพ่อคุณแม่จะมีส่วนส่งเสริมให้สมองลูกมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
          มารีแอนไดมอนด์ (Maian Diamond) นักวิจัยที่มีชื่อเสียงในรัฐแคลิฟอร์เนียและทีมงานศึกษาว่าการจัดสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้จะมีผลต่อการพัฒนาสมองอย่างไรโดยจัดให้หนูทดลองอยู่ในกรงทีมีสิ่งแวดล้อมต่างกันหนูกลุ่มหนึ่งอยู่ในกรงที่มีสิ่งแวดล้อมกระตุ้นการเรียนรู้ในกรงมีกรงล้อบันไดเขาวงกตกับหนูอีกกลุ่มที่ไม่มีการจัดสิ่งแวดล้อมพบว่าหนูในกลุ่มทีมีสิ่งแวดล้อมช่วยกระตุ้นการเรียนรู้จะมีน้ำหนักสมองมากกว่ากลุ่มทีไม่ได้จัดสิ่งแวดล้อมให้และมีการเพิมขนาดบริเวณพื้นผิวสมองหรือคอร์เท็กซ์ (Cortex) ซึ่งเป็นสมองที่เกี่ยวกับการรียนรู้ความจำและความฉลาด การทดลองยังพบว่าหนูทีได้รับการจัดสิ่งแวดล้อมมีการแต่กแขนงของเส้นใยสมอง (Dendrite) มากมายและช่วงอายุของหนูทีได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเป็นอีกปัจจัยสำคัญ กล่าวคือในช่วงแรกของชีวิตหนูที่เติบโตจากสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนกระตุ้นการเรียนรู้ จะมีเส้นใยสมองที่แตกแขนงและยาวมากขึ้นมีการศึกษาในสมองของมนุษย์ทั้งหญิงและชายโดยผ่าดูโครงสร้างสมองของผู้เสียชีวิตแล้วพบว่าระดับการศึกษาของเราสัมพันธ์กับเส้นใยสมองที่ทำหน้าที่เกียวกับการรับข้อมูลจากการฟังผู้ทีมีการศึกษาสูงจะมีเส้นใยสมองที่แตกแขนงจำนวนมากและยาวมากกว่าผู้ทีมีการศึกษาน้อย งานวิจัยน้ำให้เห็นว่าการศึกษาของคนมีส่วนทำให้โครงสร้างสมองเปลี่ยนแปลง งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าเส้นใยสมองที่ยิงแตกเขนงมากจะเกิดจุดเชื่อมต่อ (Synapses) ขึ้มากด้วยซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมองทีมีประสิทธิภาพถึงแม้ว่าสมองของทารกวัยแรกเกิดตามธรรมชาติจะพัฒนารวดเร็วมากแต่ถ้าขาดประสบการณ์หรือการจัดสิ่งแวดล้อมต่อการเรียนรู้ทีไม่เหมาะสมเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อก็จะไม่เกิดสมองจึงไม่มีประสิทธิภาพโดยสรุปแล้วสมองที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีปัจจัยดังนี้

         
1 การจัดสิ่งแวดล้อมและได้รับอาหารที่ครบถ้วนการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
          2 การสัมผัสอันอ่อนโยนการให้ความอบอุ่นในการเลี้ยงดูลูกตังแต่แรกเกิด
          3 สมองที่ถูกกระตุ้นให้คิดให้ทำงานหรือมีสิ่งใหม่ๆเข้ามาท้าทาย สมองจะยิ่งมีการรับรู้เละเกิดประสบการณ์มีการเรียนรู้ตลอดเวลาการเล่นคือวิธีการสำคัญที่จะทำให้สมองเกิดการเรียนรู้

credit นายแพทย์ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.