เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด หัวข้อข้อแนะนำให้การทำกิจกรรมกับลูกๆ ในวัย 1-2 ขวบแรก

เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด หัวข้อข้อแนะนำให้การทำกิจกรรมกับลูกๆ ในวัย 1-2 ขวบแรก

เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด หัวข้อข้อแนะนำให้การทำกิจกรรมกับลูกๆ ในวัย 1-2 ขวบแรก

             1 ระหว่างเล่นกับลูกให้คุณพ่อคุณแมสังเกตด้วยว่าลูกหน็ดเหนื่อยเกินไปหรือไม่ซึ่งอาจหมายถึงลูกถูกกระตุ้นมากเกินไปหรือลูกเบื่อแล้วก็ควรหยุดพักหรือหันไปทำกิจกรรมอื่นแทน
             2 กิจกรรมการเล่นที่มีชิ้นส่วนเล็กๆอาจติดคอลูกได้นั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นตามลำพังหรืออาจหาวิธีป้องกันเช่นปิดปากขวดให้แน่นและตรวจสอบก่อนเล่นเสมอหรือหาขวดทีไม่แตกง่ายมาใช้เป็นอุปกรณ์ฯลฯ
             3 ไม่ควรเล่นหลายกิจกรรมพร้อมกันหรือวางของเล่นหลายชิ้นให้ลูกเล่นในคราวเดียวกัน
             4 กิจกรรมที่ระบุว่าเหมาะสมกับวัยนั้นเป็นการ วางหลักอย่างกว้างๆถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกมีความสนใจกิจกรรมใดซึงอาจจะไม่ใช่กิจกรรมสำหรับวัยของลูกก็ปล่อยให้เล่นตามชอบใจเช่นลูกวัย 5 เดือนอาจชอบกิจกรรมของทารกวัย 8 เดือนหรือลกวัย 11 เดือนอาจสนใจกิจกรรมของทารกว่ย 9 เดือน ฯลฯ
             5 สังเกตุความพร้อมในการเรียนรู้ของลูกถ้าลูกยังอารมณ์ไม่ดีนักก็ไม่ควรฝืนให้ลูกทำกิจกรรมต่อไป
             6 หากลูกสนใจกิจกรรมใดเป็นพิเศษคุณพ่อคุณแม่อาจเพิ่มรายละเอียดหรือหาวิธีพลิกแพลงกิจกรรมให้แตกต่างไปเช่นกิจกรรม"ตักๆเทๆ"นอกจากเล่นตักทรายแล้วอาจดัดแปลงเป็นเล่นตักน้ำระหว่างอาบน้ำให้ลูกก็ได้
             7 ควรส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษไปจนกว่าลูกเบื่อหรือพ้นช่วงวัยของลูกกิจกรรมที่ลูกยังไม่ชอบในขณะนี้เมื่อผ่านไปสักระยะหนึงลูกอาจชอบก็ได้ทั้งนี้พราะไม่สอดคล้องกับพัฒนาการของลูกเช่นบางกิจกรรมเหมาะสำหรับทารกที่เริ่มคืบได้เมือจับให้นังตักทารกจะไม่ชอบแล้วพราะกำลังสนใจหัดคืบคลานมากกว่าการนั่ง
             8 กิจกรรมที่มีเพลงประกอบผู้เขียนพยายามเลือกเพลงสำหรับเด็กที่รู้จักกันดีแต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่คุ้นก็อาจใช้เพลงทีรู้จักและมีทำนองเหมาะสมหรือหา บทกลอนที่มีเสียงสัมผัสคล้องจองกันก็จะได้รับประโยชน์ชนเดียวกัน

credit นายแพทย์ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร


 

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.