Antioxidants สารต้าน อนุมูลอิสระ คืออะไร มีประโยชน์อะไร ทำไมใครๆ หามารับประทาน
ตั้งแต่กระแสรักสุขภาพมาแรงในบ้าน เราก็มักได้ยินคำว่า “แอนติออกซิแดนท์” หรือ “สารต้านอนุมูลอิสระ” กันอยู่บ่อย ๆ เชื่อว่าหลายคนคงไม่รู้ชัดเจนว่าเจ้าสารต้านอนุมูลอิสระที่ว่านี้มันคืออะไร รู้แต่ว่ามันมีประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารอะไรที่ว่ากันว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ก็จะถูกแนะนำว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ก่อนที่จะเฉลยว่าสารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร ก็ขอเท้าความไปถึงกลไกลการทำงานของร่างกายกันสักนิดก่อนนะค่ะ
ปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกายมาจากกระบวนการที่เรียกว่า “ออกซิเดชั่น” เจ้าออกซิเดชั่นคือกระบวนการที่ร่างกายเราใช้ออกซิเจนเข้าไปเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานค่ะ เพื่อให้เซลล์ต่าง ๆ ได้นำพลังงานนั้นไปใช้ ในกระบวนการนี้จะก่อให้เกิด By-Product หรือผลพลอยได้ นั่นคือ “อนุมูลอิสระ” ที่จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลต่างๆ ในร่างกายค่ะ และก่อความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อและเอนไซม์เรา แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่กระบวนการออกซิเดชั่นอย่างเดียวเท่านั้นนะค่ะ หากแต่ปัจจัยอื่น อาทิเช่น มลพิษ มลภาวะต่าง ๆ สารเคมี
ยาฆ่าแมลง อาหารขยะ และความเครียดต่างๆ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้เช่นเดียวกัน
สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxidant ที่เราได้จากพืชผักผลไม้นั้น เมื่อรับประทานเข้าไปจะมีส่วนช่วยยับยั้ง เจ้ากระบวนการออกซิเดชั่นในร่างกายนั่นเองค่ะ และปกป้องเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายไป จึงทำให้ป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ขอสรุปคุณประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระมีดังต่อไปนี้นะค่ะ
- เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายค่ะ ซึ่งจะมีฤทธิ์ต้านหวัด ไวรัส และการติดเชื้อในร่างกายนะค่ะ
- สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งค่ะ
- ป้องกันโรคเกี่ยวกับตา อาทิเช่น ต้อ และโรคจอประสาทตาเสื่อม
- ช่วยลดกระบวนการออกซิเดชั่นไขมันค่ะ โดยกระบวนการออกซิเดชั่นไขมันนั้น จะทำให้เกิดไขมันหนืดข้นขึ้น จนไปเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ไขมันอุดตันเส้นเลือด จึงเป็นที่มาของการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจค่ะ
- ถนอมอายุเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้มีอายุยาวนานขึ้นกว่าปกติ
ส่วนแหล่งที่มาของสารต้านอนุมูลอิสระได้แก่ อาหารที่มาจากธรรมชาติ และไม่ผ่านการปรุ่งแต่งมากนัก อย่างเช่น ผักและผลไม้สด ผักที่มีสีสัน
ผักใบเขียว น้ำผักผสมหรือไม่ผสมผลไม้ และอาหารที่มีวิตามิน E สูง อาทิเช่น เมล็ดถั่วต่าง ๆ สารต้านอนุมูลอิสระที่เด่น ๆ ประกอบด้วย เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี
ไลโคพีน วิตามินบี
วิตามินเอ เซเลเนียม และสังกะสีเป็นต้น สารต้านอนุมูลอิสระแต่ละชนิดนั้น ก็จะมีคุณสมบัติและแหล่งที่มาแตกต่างกันไป เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
- วิตามินเอ : เป็นว vitamin ละลายในไขมัน สำคัญต่อการสร้างกระดูก ช่วยบำรุงสายตาและช่วยเรื่องระบบการทำงานของลำไส้ ระบบภูมิคุ้มกันและบำรุงผิวพรรณ อาหารที่อุดมด้วยวิตามิน A อันได้แก่ แครอท ส้ม มะม่วง ฝรั่ง ไข่แดง แอพริคอท มันเทศ นม มะละกอ และโยเกิร์ต
- วิตามินซี : เป็นวิตามินที่สามารถละลายในน้ำได้ ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระภายในเซลล์ ซึ่งมีน้ำอยู่เยอะ วิตามิน C นั้นจะทำงานประสานกับวิตามิน E ในการปกป้องเซลล์ อาหารที่มีวิตามิน C สูง ก็คือ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มและมะนาวค่ะ บร็อคโคลี ผักใบเขียว พริกเขียว สตรอเบอร์รี่ และมะเขือเทศเป็นต้นค่ะ
- วิตามินอี : มีหน้าที่ปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์จากการถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระ โครงสร้างหลักๆของเยื่อหุ้มเซลล์ ก็คือ กรดไขมัน วิตามิน E ซึ่งเป็นวิตามินละลายได้ในไขมันจึงช่วยลดกระบวนการออกซิเดชั่นในไขมันเลว (LDL) อีกด้วยค่ะ อาหารที่มี วิตามิน E ประกอบด้วยเมล็ดถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว เมล็ดพืช น้ำมันพืช และน้ำมันตับปลาเป็นต้นค่ะ
- ซิลีเนียม : เป็นแร่ธาตุที่มีส่วนช่วยสร้างเอนไซม์สามารถต้านสารอนุมูลอิสระหลายเอนไซม์ อาหารที่มีธาตุซีลีเนียมสูงอันได้แก่ หอย ปลา ไข่ ไก่ เนื้อแดง กระเทียม และธัญพืชเป็นต้นค่ะ
- เบต้าแคโรทีน : มือปืนที่คอยปราบอนุมูลอิสระค่ะ พบมากในแครอท พริกแดง บร็อคโคลี พริกเขียว มะม่วง มันเทศ และผักผลไม้หลายชนิดค่ะ
- ไลโคพีน : ปกป้องเม็ดเลือดขาวไม่ให้ถูกทำลายได้โดยอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งมดลูกได้ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย เมื่อทำงานร่วมกับเบต้าแคโรทีน จะช่วยปกป้องผิวหนังจากรังสียูวีค่ะ อาหารที่มีไลโคพีนสูงอันได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ แตงโม มะเขือเทศ เกรปฟรุตสีชมพู
- ลูทีน : เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยทำนุบำรุงดวงตาและสามารถยับยั้งการเกิดต้อหินกระจก รวมถึงจอประสาทตาที่เสื่อม พบมากในผักใบเขียว เช่น ผักโขม บร็อคโคลี และกีวีเป็นต้นค่ะ
Did you know
มาดูกันว่าเราควรทำอย่างไรบ้าง ถึงจะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารมากขึ้นในแต่ละวัน วิธีการก็ไม่ยากเลย แค่ใช้ความชาญฉลาดในการเลือกบริโภค ยกตัวอย่างเช่น
- รับประทานผักสดให้หลากหลายที่มากพอ ดัดแปลงเป็นเมนูต่าง ๆ อาทิเช่น สลัดผัก ปอเปี๊ยะสด หรือเมนูที่มีผักเป็นเครื่องเคียงเยอะๆก็ได้ อาทิเช่น น้ำพริก เป็นต้นค่ะ
- เลือกที่จะรับประทานข้าวกล้องหรือธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย อาทิเช่น ถั่วเมล็ดทุกชนิด งา ข้าโอ๊ตเพราะว่ามีแร่ธาตุและวิตามินสูงค่ะ
- ในแต่ละมื้ออาหารก็ควรมีผักผลไม้ปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหารทั้งหมดที่รับประทานนะค่ะ และพกพาผลไม้เป็นอาหารว่างเมื่อต้องการคลายหิวค่ะ
- เลือกรับประทานผลไม้ทั้งผลจะดีกว่าคั้นเป็นน้ำจะได้วิตามินและเกลือแร่ครบครันกว่าค่ะ
- เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการกับสลัดผัก โยเกิร์ต หรือจะเป็นซีเรียลด้วยการโรยถั่วเมล็ดแห้ง อาทิเช่น ถั่วด ถั่วลิสง ถั่วเขียวำ ถั่วแดง (หรือถั่วสัญชาตินอกก็ได้ อาทิเช่น แมคคาเดเมีย อัลมอนด์ บราซิลนัท วอลนัท) ลงไปด้วย ประโยชน์ของถั่วคือเป็นโปรตีนไขมันต่ำค่ะ มีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมากๆ
วิถีชีวิตยุคใหม่ปี 2015 ทำให้เราต้องเผชิญกับมลพิษและปัจจัยที่บั่นทอนสุขภาพมากมาย ถ้ารู้จักนำอาหารที่เป็นประโยชน์เข้าร่างกาย แม้ไม่ทำให้ปลอดปัญหาร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยเราก็ไม่เพิ่มโรคภัยไข้เจ็บให้ตัวเอง สุขภาพดีไม่มีขายค่ะ อยากได้ต้องพึงสังวรดังคำกล่าวที่ว่า You are what you eat กินดีได้ดี กินแย่ๆ ระวังโรคภัยจะถามหานะค้า ^,^