มาดูกันว่า วิตามิน & อาหารเสริม จำเป็นแค่ไหน

มาดูกันว่า วิตามิน & อาหารเสริม จำเป็นแค่ไหน

มาดูกันว่า วิตามิน & อาหารเสริม จำเป็นแค่ไหน

สังเกตเห็นว่าปัจจุบันผู้คนใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้นค่ะ ยอดขายอาหารเสริมและวิตามินต่าง ๆ จึงเพิ่มขึ้นค่ะ เพราะอิทธิพลของโฆษณาที่ทำให้ผู้บริโภคเชื่อว่า การรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมจะช่วยทำให้สุขภาพดีค่ะ บางคนถึงกับเข้าใจผิดคิดว่ามันเป็นยารักษาโรคได้เลยทีเดียวค่ะ แต่หลายคนเกิดความสงสัยใคร่รู้ว่า อาหารเสริมหรือวิตามิน รวมถึงแร่ธาตุต่าง ๆ นั้นมีความจำเป็นต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหนกัน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจคร่าว ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้กันนะค่ะ

                อาหารที่เรารับประทานเข้าไปจะให้สารอาหารที่แบ่งเป็น 2 ประเภทค่ะ คือ Macronutrients(คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน) กับ Micronutrients (วิตามิน และแร่ธาตุ)ค่ะ กลุ่มแรกเป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณมากค่ะ ส่วนกลุ่มหลัง จำเป็นเช่นกันค่ะ แม้ร่างกายต้องการในปริมาณน้อยกว่า แต่ขาดไม่ได้เลยสักนิดค่ะ เพราะถ้าขาดเมื่อใดจะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆค่ะ ในร่างกายไม่ต่างจากกลุ่มแรกค่ะ
                วิตามินเป็นสารประกอบอินทรีย์ค่ะ (ขณะที่แร่ธาตุเป็นสารประกอบอนินทรีย์) ที่เราได้จากอาหารหลากหลายชนิดที่รับประทานเข้าไปค่ะ โดยเฉพาะอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปค่ะ ส่วนวิตามินและแร่ธาตุในรูปเม็ดหรือแคปซูลที่จำหน่ายตามร้านเป็นวิตามินที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นค่ะ
 
                ความต่างของวิตามินจากธรรมชาติและวิตามินสังเคราะห์ นั้นคือ หากมาจากธรรมชาติ ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าค่ะ และหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปก่อให้เกิดพิษน้อยกว่าเมื่อเทียบกับวิตามินสังเคราะห์ค่ะ
 
                ผลการวิจัยจากหลายสถาบันชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่าวิตามินที่ได้จากธรรมชาติหรือจากอาหารจะดีกว่าวิตามินสังเคราะห์ค่ะ เพราะในอาหารไม่ได้มีองค์ประกอบแค่วิตามินอย่างเดียวค่ะ แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆด้แก่น แร่ธาตุ และ Phytochemicalค่ะ ( สารเคมีจากพืชเป็นารที่ทำให้เกิดสี กลิ่น และรสของผัก ผลไม้ มีคุณสมบัติ คือ การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระค่ะ)
 
                ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะทำงานร่วมกันอันจะนำประโยชน์รอบด้านไปสู่ร่างกายค่ะ ในขณะที่วิตามินหรือแร่ธาตุสังเคราะห์ แม้จะอยู่ในรูปพร้อมใช้งานแต่องค์ประกอบสำคัญที่ขาดหายไปค่ะ คือPhytochemical ดังนั้น วิตามินสังเคราะห์จึงไม่อาจเทียบชั้นกับวิตามินที่ได้จากอาหารค่ะ (ยกเว้นวิตามินบี 9 หรือที่รู้จักในชื่อโฟเลต / กรดโฟลิกค่ะ หากอยู่ในรูปสังเคราะห์ ร่างกายจะดูดซึมได้ดีกว่าบี 9 ในอาหารค่ะ)
 
                สำหรับคนที่แข็งแรง ร่างกายปกตินั้น หากรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ทุกมื้อทุกวัน ก็จะได้รับวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่เพียงพอค่ะ อย่างไรก็ตาม สำหรับบางกลุ่มคนที่อยู่ในภาวะ “พร่อง” โภชนาการหรือกลุ่มเสี่ยงขาดแคลน วิตามินสังเคราะห์ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลวนักค่ะ กลุ่มที่ว่าได้แก่ สตรีที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร สตรีที่รอบเดือนมามากผิดปกติ คนชราที่พิการหรือมีโรคประจำตัวค่ะ คนที่มีปัญหาด้านสุขภาพบางอย่าง คนที่รับประทานมังสวิรัติแบบเคร่งครัดค่ะ คนที่ลดความอ้วนผิดวิธี ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด ผุ้ใช้ยาเสพติดและผู้สูบบุหรี่จัด เป็นต้นค่ะ
 
                คนจำนวนมากมักเข้าใจผิดคิดว่าวิตามินบางอย่างเมื่อรับประทานในปริมาณมากนั้นมันจะสามารถกลายเป็นยารักษาหรือป้องกันโรคบางอย่างได้ ยกตัวเย่างเช่นมีการโปรโมตว่าการรับประทานวิตามินซีช่วยรักษาอาหารหวัดค่ะ หรือวิตามินอีมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจค่ะ แต่ความจริงก็คือ ยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันว่าความเชื่อเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องค่ะ อีกทั้งการรับประทานอาหารเสริมในปริมาณที่มากเกินไปยังจะก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ด้วยซ้ำค่ะ
 
                การรับประทานวิตามินเสริมบางชนิดมากเกินความจำเป็นอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพได้ค่ะ อาทิเช่น วิตามินที่ละลายในไขมันอย่าง เอ ดี อี และเคที่สามารถสะสมในร่างกายได้ค่ะ และหากมากเกินไปก็ก่อให้เกิดพิษ วิตามินที่ละลายในน้ำ บางอย่าง เช่น บี 6 หากรับประทานมากไปก็เป็นพิษเช่นกันค่ะ
                แร่ธาตุเองก็ไม่ต่าง สังกะสี ธาตุเหล็ก โครเมียม และซีลีเนียมค่ะ หากรับประทานมากเกินกว่าจากที่แนะนำก็ทำให้เกิดโทษค่ะ ยกตัวอย่าง สังกะสี หากมากเกินจะขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กและทองแดงค่ะ ผลที่ตามมา คือ ระบบภูมิคุ้มกันรวน ทำให้การทำงานของหัวใจมีปัญหา และเกิดโรคเลือดจางค่ะ
                ขณะที่น้ำมันปลา แม้จะมีคุณประโยชน์มากมายค่ะ แต่ถ้ารับประทานเกินจำเป็นอาจทำให้การแข็งตัวของเลือด (Blood Clotting) ลดลงค่ะ ส่วนการรับประทานแคลเซียมในปริมาณมากจะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กลดลงค่ะ หรือโอเวอร์โดสวิตามินเอไม่เพียงส่งผลต่อกระดูกและผิวหนังค่ะ ระบบประสาทส่วนกลาง และการทำงานของตับค่ะ แต่ยังร้ายแรงถึงขั้นทำให้แท้งหรือทารกที่เกิดมาพิการอีกด้วยค่ะ
                ผู้เขียนไม่ได้ต่อต้านการใช้อาหารเสริม หรือวิตามินสังเคราะห์ค่ะ แต่มองว่าจะดีกว่าไหมหากเราเรียนรู้ที่จะใช้มันอย่างชาญฉลาดโดยไม่ตกเป็นเหยื่อของโฆษณาวิตามินสังเคราะห์ไม่สามารถบริโภคแทนอาหารหลักได้ค่ะ และหากจะใช้มันก็ควรเป็นระยะสั้นไม่ใช่ระยะยาวค่ะ แต่ถ้าคิว่าอยากรับประทานจริง ๆ ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ นักโภชนาการ นักกำหนดอาหารหรือผู้มีความรู้ค่ะ ไม่ใช่รับประทานสุ่มสี่สุ่มห้าหรือรับประทานตามแต่สัญชาติญาณจะพาไป เพราะแต่ละโดสมีความหมายมีความสำคัญน้อยไปก็ไม่ดี มากไปก็เป็นพิษได้ค่ะ
                ทางเลือกของการมีสุขภาพดีไม่ได้อยู่ที่การซื้อวิตามินสังเคราะห์มารับประทานค่ะ แต่ยังมีอีกมากมายหลายทางที่เราสามารถทำได้ค่ะ เช่น การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การปรับพฤติกรรมการรับประทานใหม่ค่ะ การลดช่องทางที่จะนำไปสู่การเกิดโรคและการเลือกทานอาหารที่มีคุณค่ามีประโยชน์ค่ะ
 
                ฮิปโปเครตีส บิดาแห่งวงการแพทย์ได้กล่าวไว้ว่า “Let your food be your medicine and your medicine be your food” นับเป็นคำพูดที่ไม่เคยล้าสมัยเลยค่ะ การใช้อาหารเป็นยา หากทำได้ เราก็ไม่ต้องเสียเงินแพง ๆ ซื้อวิตามินสังเคราะห์มารับประทานให้เปลืองงบโดยใช่เหตุค่ะ

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.