ประโยชน์ โครเมียม Cr

ประโยชน์ โครเมียม Cr

ประโยชน์ โครเมียม Cr

โครเมียม (Chromium) นั้นเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งซึ่งร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อยค่ะ และในร่างกายมีโครเมียมอยู่น้อยกว่า 6 มิลลิกรัมค่ะ จึงห้ามรับประทานมากเพราะเป็นโลหะหนักค่ะ จะทำให้เกิดพิษได้ ถ้ารับประทานจากอาหารมักจะไม่ได้รับโครเมียมเกินจนเป็นอันตรายเพราะในอาหารมีโครเมียมไม่สูงค่ะ แต่หากได้รับในรูปแบบเม็ดและรับประทานมากอาจได้รับเกินได้ค่ะ
โครเมียมพบในยีสต์ ธัญพืชไม่ขัดสี ลูกพรุน เนยถั่ว มันฝรั่ง ถั่ว และอาหารทะเลค่ะ โครเมียมในรูปแบบเม็ด จะผลิตจากโครเมียมคลอไรด์ค่ะ หรือโครเมียมพิโคลิเนต แต่โครเมียมคลอไรด์มักไม่ดูดซึมค่ะ จึงนิยมโครเมียมพิโคลิเนตมากกว่า
หน้าที่ของโครเมียมจะทำงานร่วมกับอินซูลินในการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ค่ะ คือช่วยเพิ่มการทำงานของอิสซูลิน และทำให้เซลล์ตอบสนองต่ออิสซูลินดีขึ้นค่ะ จึงช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ และรักษาระดับการทำงานของกลูโคสให้คงที่ เพิ่มการทำงานกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงานมากขึ้นค่ะ ช่วยย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ดึงเอาไขมัน ที่สะสมในน้ำหลืองละตามเนื้อเยื่อต่างๆ มาเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานได้ค่ะ ช่วยไม่ให้คอเลสเตอริลไปอุดตันในหลอดเลือด เป็นประโยชน์ต่อภาวะโรคหัวใจ และหลอดเลือด หรือภาวะความดันโลหิตสูงค่ะ
ร่างกายต้องการโครเมียมวันละ 200 ไมโครกรัมค่ะ และควรอยู่ในรูปของโครเมียมนิโคติเนต จะปลอดภัยกว่าโครเมียมพิโคลิเนตค่ะ เพราะว่าร่างกายสามารถรับโครเมียมนิโคติเนตได้ 800 ไมโครกรัมค่ะ ในขณะที่สามารถรับโครเมียมพิโคลิเนตได้ 800 ไมโครกรัมค่ะ
โครเมียมเป็นธาตุที่มีคนขาดกันเป็นจำนวนมากค่ะ พบว่าชาวอเมริกันมากถึง 90% นั้นได้รับโครเมียมน้อยกว่าที่ควร และในผู้ป่วยเบาหวานจะขับโครเมียมออกไปกับปัสสาวะเป็นจำนวนมากค่ะ จึงยิ่งควรได้รับโครเมียมมาทดแทน
อาการเมื่อขาดโครเมียม จะทำให้การทำงานของอิสซูลินไม่สมบูรณ์มีโอกาสเสี่ยงต่อเบาหวาน อ่อนเพลีย วิตกกังวล เกิดการสะสมไกลโคเจนที่ตับลดลงคอเลสเตอรอลและไขมันอุดดันในหลอดเลือดอีกด้วย
แนะนำให้ใช้โครเมียมในคนอ้วน ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงค่ะ จะช่วยให้อาการดีขึ้น ดังนั้นโครเมียมจึงเป็นแร่ธาตุที่ชาวอเมริกันนิยมมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากแคลเซียมค่ะ

ข้อควรระวัง
ไม่ควรรับประทานโครเมียมพร้อมกับฟอสฟอรัสหรือนม เพราะการดูดซึมจะไม่ดีค่ะ สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานนะค่ะ


credit คู่มือ อาหารเสริม 
ผู้เขียน ดร. เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.