"เลซิติน" ในไช่แดงมีประโยชน์มากกว่าที่เห็น

"เลซิติน" ในไช่แดงมีประโยชน์มากกว่าที่เห็น

เลซิติน
               เลซิติน (Lecithin) มีชื่อมาจากภาษากรีกว่า เลคิตอส (Lekithos) แปลว่าไข่แดง เพราะพบมากในไข่แดง เลซิตินเป็นสารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็น ฟอสฟอรัส และวิตามินได้แก่โคลีน (Choline) และอิโนซิตอล (Inositol)
                 เลซิตินเป็นสารที่พบได้ในอาหารหลายชนิดทั้งพืชและสัตว์ เช่น ไข่แดง ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน และสมอง แม้ว่าไข่แดงจะมีคอเลสเตอรอลสูง แต่เลซิตินในไข่แดงจะยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากไข่ ดังนั้นคนที่รับประทานไข่จึงมีคอเลสเตอรอลไม่สูงมาก สำหรับร่างกาย มนุษย์พบเลซิตินมากในสมองถึง 30% เลซิตินจึงจำเป็นต่อการสร้างระบบประสาท เลซิตินมีส่วนช่วยให้ไขมันที่รับประทานเข้าไปแตกตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ เป็นตัวทำละลายไขมันในกระแสเลือด ดังนั้นเมื่อเลซิตินผ่านไปในกระแสเลือดจึงช่วยละลายไขมันที่จับตามผนังหลอดเลือด มีผลในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและเพิ่มการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดจึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ งานวิจัยพบว่าการรับประทานเลขิตินจากถั่วเหลืองช่วยลดคอเลสเตอรอลไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่ม HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอล ชนิดดี  เลซิตินยังช่วยเสริมสร้างการทำงานของตับในการเร่งการเผาผลาญไขมัน ทำให้ตับทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น จากหลักฐานทางวิชาการพบว่าเลซิตินช่วยบำรุงดับป้องกันโรคตับแข็ง และลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งพบในผู้ที่มีภาวะไขมันคอเลสเตอรอลสูง สำหรับการบำรุงตับ ป้องกันโรคตับแข็ง ควรรับประทานเลซิตินวันละ 1,200-3,600 มิลลิกรัม สำหรับลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ควรรับประทานเลซิตินวันละ 3,600-7,200 มิลลิกรัม เลซิตินเป็นสารอาหารที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง เด็กที่กำลังเจริญเติบโตและพัฒนาระบบประสาท
               เลซิตินได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (GRAS) และสหภาพยุโรป (E number E322) ว่ามีความปลอดภัย ดังนั้นจึงสามารถรับประทานเสริมได้โดยปลอดภัย โดยรับประทานหลังอาหารทันทีทุกมื้ออาหาร เพราะจะช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอล
 
credit ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์ซีลีเนียม

 

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.