แอล-คาร์นิทีน ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่? เรามีคำตอบให้คุณแล้วที่นี่

แอล-คาร์นิทีน ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่? เรามีคำตอบให้คุณแล้วที่นี่

แอล-คาร์นิทีน
               คาร์นิทีน (Carnitine) ชื่อนี้มาจากคำว่า คาร์นิส (Camis) ที่แปลว่าเนื้อ เพราะสารคาร์นิทีนพบมากในเนื้อสัตว์ เมื่อรับประทานเนื้อสัตว์ก็จะได้รับคาร์นิทีน ร่างกายของคนเราก็สามารถสร้างคาร์นิทีนขึ้นเองได้ แต่ต้องได้รับ กรดอะมิโน 2 ตัวคือ ไลซีน (Lysine) และเมทไธโอนีน (Methionine) ซึ่งกรดอะมิโนนี้ได้จากการรับประทานโปรตีน เช่น ปลา ไก่ หรือพบบ้างในผัก และผลไม้ แต่ในเนื้อสัตว์จะพบคาร์นิทีนมากกว่าในพืช ตัวอย่างเช่น ในเนื้อ1 ขีดหรือ 100 กรัม จะมีคาร์นิทีน 300 ไมโครโมล ในขณะที่หน่อไม้ฝรั่งมี 8 ไมโครโมล
               สารประเภทคาร์นิทีนมี 2 รูปคือ ดี-คาร์นิทีน (D-Carnitine) และแอล-คาร์นิทีน (L-Carmitine) โดยสารจะออกฤทธิ์ได้จะต้องอยู่ในรูปแอล-คาร์นิทีนส่วนดี-คาร์นิทีนไม่ทำหน้าที่ใด ๆ ในร่างกาย หากรับประทานดี-คาร์นิทีนเข้าไปพร้อมกับแอล-คาร์นิทีน ดี-คาร์นิทีนก็จะไปแย่งการดูดซึม ทำให้การดูดซึม แอล-คาร์นิทีนไม่ดี ดังนั้นหากจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภท คาร์นิทีน ควรดูข้างขวดว่าเป็นแอล-คาร์นิทีนหรือดี-คาร์นิทีน (พึงจำไว้ว่า คำว่า "ดี" ในภาษาอังกฤษ แปลว่า "ไม่ดี" ในภาษาไทย) ให้เลือกซื้อ "แอล" และราคาของแอล-คาร์นิทีนและดี-คาร์นิทีนก็ไม่เท่ากัน ยิ่งมีความบริสุทธิ์สูงก็จะแพงกว่าที่มีผสมทั้ง 2 อย่าง
               อะซิทิล-คาร์นิทีนจะได้รับความนิยมมากกว่าเพราะว่าดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่า อะซิทิล-แอล-คาร์นิทีนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน นอกจากนั้นงานวิจัยยังพบว่า การรับประทาน อะซิทิล-คาร์นิทีน 1.5-3 กรัมต่อวันสามารถเพิ่มการทำงานด้านความจำในผู้เริ่มปรากฏอาการของโรคอัลไซเมอร์" และจากการทดลองในหนูที่สูงอายุพบว่าอะซิทิล-คาร์นิทีนช่วยลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
               เมื่อร่างกายต้องการใช้พลังงาน เช่น เมื่อออกกำลังกาย แอล-คาร์นิทีนจะเปลี่ยนไปเป็นอะซิทิล-แอล-คาร์นิทีน (Acetyl-L-carnitine) หรืออะซิทิล คาร์นิทีน (Acetyl-camitine) ทั้งอะซิทิล-คาร์นิทีนและคาร์นิทีนมีหน้าที่เป็นตัวหลักในการลำเลียงไขมันที่สะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกายมาเผาผลาญในส่วนประกอบของเซลล์ที่เรียกว่า ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) และจะสร้างพลังงานให้กับเซลล์  ทำให้เกิดการนำไขมันสะสมไปใช้เป็นพลังงาน กำจัดไขมันส่วนเกินของร่างกาย รวมถึงไขมันสะสมในหลอดเลือด ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ อยู่ในระดับที่เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายควบคุมน้ำหนัก กระชับกล้ามเนื้อ ด้วยหน้าที่นี้ อะซิทิล-คาร์นิทีนและคาร์นิทีนจึงนำมาใช้ เป็นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก และยังช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์ HDL (High Density Lipoprotein)
 
การขาดแอล-คาร์นิทีน
                ควรรับประทานคาร์นิทีน 500 ไมโครโมลต่อวัน หากคนปกติรับประทานอาหารครบถ้วนก็จะไม่ขาดแอล-คาร์นิทีนและไม่จำเป็นต้องรับประทาน แอล-คาร์นิทีนเสริม แต่พบว่าคนที่เป็นโรคทางพันธุกรรมบางชนิดร่างกายไม่สามารถสร้างแอล-คาร์นิทีนได้ หรือคนที่มีน้ำตาลตำต้องการพลังงานสูงก็จะขาดแอล-คาร์นิทีน
               ในน้ำนมแม่และน้ำนมวัวก็มีคาร์นิทีน แต่การผลิตนมสำหรับเด็กจะผ่านความร้อนสูง ทำให้คาร์นิทีนสลายไป ดังนั้นน้ำนมแม่จะมีคาร์นิทีนสูงกว่านมผง 4 เท่า 17 เด็กที่ดื่มน้ำนมแม่จะได้รับแอล-คาร์นิทีนเพียงพอแต่เด็กที่ดื่มน้ำนมวัวจะขาดแอล-คาร์นิทีน
               ในวัยที่สามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายชนิดมักจะไม่ขาดแอล-คาร์นิทีน โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับกรดอะมิโนโดยเฉพาะไลซีนเพียงพอ ไต ตับ และสมองจะสร้างแอล-คาร์นิทีนขึ้นมา โดยอาศัยวิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินซี และธาตุเหล็กช่วยในการสังเคราะห์ แต่กว่า 80% ร่างกายได้รับแอล-คาร์นิทีน จากอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ดังนั้นหากไม่รับประทานเนื้อสัตว์จะขาดกรดอะมิโนไลซีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นแอล-คาร์นิทีน และพบว่าผู้ที่มีอายุมากขึ้น การผลิตแอล-คาร์นิทีนก็จะลดลงตามวัย จึงทำให้คนที่อายุมากขึ้นมีความอ้วนมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณรอบเอวและสะโพก เพราะแอล-คาร์นิทีนเป็นสารอาหารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน โดย 99% ของแอล-คาร์นิทีนจะเก็บไว้ในกล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อต้องการพลังงานในการเคลื่อนไหว ส่วนที่สร้างพลังงานในเซลล์กล้ามเนื้อที่เรียกว่า ไมโทคอนเดรีย แอล-คาร์นิทีนจะจับไขมันที่เป็นสายยาวเข้าไปที่ผนังด้านในของไมโทคอนเดรียเพื่อสลายเป็นพลังงานให้กล้ามเนื้อ จึงทำให้กล้ามเนื้อมีพลังงาน เมื่อขาดแอล-คาร์นิทีนจึงอ้วนง่าย
               คนที่รับประทานยากันชักจะสูญเสียแอล-คาร์นิทีนมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรับประทานแอล-คาร์นิทีนเสริม
               ไตผลิตแอล-คาร์นิทีน หากไตเสื่อมจะขาดแอล-คาร์นิทีน จึงอาจได้รับจากการเสริมอาหาร
 
ตารางแสดงปริมาณคาร์นิทีนในอาหารต่างๆ
 
อาหาร (100กรัม) ปริมาณคาร์นิทีน (ไมโครโมล)
สเต๊กเนื้อ 401
ตับไก่สุก 580
ไส้กรอกหมู 44
กุ้งสด 4
หอยแมลงภู่สุก 16
ปลาแซลมอนสุก 36
น้ำนมวัว 14
โยเกิร์ต 75
ไข่แดงดิบ 3
ไข่ขาวดิบ 2
มะม่วง 5
มันฝรั่งดิบ 15
มันฝรั่งสุก 0
ข้าวสุก 0
มะเขือเทศ 0
 
               จากตารางจะเห็นได้ว่าคาร์นิทีนมีมากที่สุดในเนื้อ และมีน้อยมากใน ผลไม้ หากปรุงอาหารให้สุก คาร์นิทีนจะลดปริมาณลง

 
 
               ดังตัวอย่างของมันฝรั่งดิบและมันฝรั่งสุก ซึ่งเมื่อสุกแล้วคาร์นิทีนสลายไปหมดเพราะความร้อนจากการปรุงอาหาร
         
              
อาหารประเภทเนื้อสัตว์มีคาร์นิทีนมาก เมื่อปรุงแล้วคาร์นิทีนจะลดลง แต่ยังพอมีคาร์นิทีนเหลืออยู่บ้าง ส่วนผักผลไม้มีคาร์นิทีนน้อย หากปรุงผ่านความร้อนก็จะไม่เหลือคาร์นิทีนเลย
 
ประโยชน์ของแอล-คาร์นิทีน
               เมื่อรับประทานยาพาราเซตามอลเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจะเปลี่ยนยาพาราเซตามอลเป็นสารพิษชื่อ เอ็น-อะซิทิล-พารา-เบนโซควิโนนอิมไมน์(N-acetyl-p-benzoquinone imine) ซึ่งจะไปจับหมู่ไธออล (SH) ของโปรตีนในตับและเนื้อเยื่อตับทำให้โปรตีนถูกทำลาย แอล-คาร์นิทีนและกลูต้าไธโอน จะมีหมู่ไธออล (SH) จึงเข้าไปช่วยซ่อมแซมโปรตีนในตับและเนื้อเยื่อตับที่ถูกทำลายให้ไม่ตาย จึงลดพิษ และแพทย์จะใช้สารดังกล่าวนี้ในการแก้พิษให้ผู้ที่รับประทานยาพาราเซตามอล
            แอล-คาร์นิทีนลดความดันโลหิต รักษาเบาหวาน  ลดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจล้มเหลว
               งานวิจัยส่วนใหญ่สนับสนุนว่าแอล-คาร์นิทีนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการออกกำลังกาย แต่มีงานวิจัยส่วนน้อยที่ไม่สนับสนุน จากการวิจารณ์ของ ดร.คาร์ลิค ไฮดรัน และ ดร.โลนินเจอร์ อัลเฟรด ได้สรุปว่า แอล-คาร์นิทีน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการออกกำลังกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักกีฬาโดยการเพิ่มการใช้ออกซิเจน ลดการหายใจ ลดกรดแลกติกที่ทำให้เกิดอาการล้า เพิ่มการสลายไขมันให้เป็นพลังงาน จากงานวิจัยส่วนใหญ่สนับสนุนว่าแอล-คาร์นิทีนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการออกกำลังกาย ซึ่งศึกษาในประชากร 305 คน แต่ละงานวิจัยนั้นทดลองในคนจำนวนเฉลี่ย 16 คน และแต่ละงานวิจัยใช้เวลาเฉลี่ยในการทดลองนาน 16 วัน ในขณะที่งานวิจัยส่วนน้อยที่ ไม่สนับสนุน ศึกษาในประชากรเพียง 70 คน แต่ละงานวิจัยนั้นทดลองในคน จำนวนเฉลี่ยเพียง 8 คน และใช้เวลาทดลองสั้นเฉลี่ยเพียง 7 วัน
               แอล-คาร์นิทีนเพิ่มกล้ามเนื้อ และประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อ
               เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน และเพิ่มการนำส่งประสาทในผู้สูงวัย
               สารสกัดแอล-คาร์นิทีน ผสมสารสกัดจากองุ่นและสารสกัดฟลาโวนส์จากถั่วเหลือง ช่วยลดการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังและไขมันในผนังช่องท้องการทดลองให้หนูกินกาเฟอีน 250 มิลลิกรัม อาร์จีนีน 6 กรัมไอโซฟลาโวนส์จากถั่วเหลือง 2 กรัม และแอล-คาร์นิทีน 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ช่วยลดการเพิ่มของน้ำหนักหนูได้ 5.4% ใน 3 สัปดาห์
ไม่พบรายงานความเป็นพิษ แต่พบว่าหากรับประทานแอล-คาร์นิทีน มากจะทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นคาวคล้ายปลา ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานเกิน 2 กรัม
              
       
 ข้อควรระวัง
มีแอล-คาร์นิทีนอีกชนิดชื่อว่า โพรพิโอนิล-แอล-คาร์นิทีน (Propionyl-L-carnitine) ซึ่งมีขายในยุโรปแต่ว่า อย. ของสหรัฐอเมริกาไม่ให้การรับรอง


credit ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์ซีลีเนียม
 

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.