โอเมก้า-6 และโอเมก้า-9 คืออะไร สามารถหาได้จากอะไรบ้าง

โอเมก้า-6 และโอเมก้า-9 คืออะไร สามารถหาได้จากอะไรบ้าง

 
โอเมก้า-6 และโอเมก้า-9

            น้ำมันปลาประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า-3 ซึ่งมี 2 ชนิดคือ DHA และ EPA
            นอกจากกรดไขมันโอเมก้า-3 จะพบในน้ำมันปลาแล้ว ยังสามารถพบในแหล่งอื่นได้ แต่จะเป็นโอเมก้า-3 ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ DHA และ EPA เช่น แอลฟาไลโนเลอิก (Alpha-linoleic Acid: ALA) เป็นกรดไขมันที่จำเป็น ร่างกายไม่สามารถสร้างได้จึงต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น แหล่งของ ALA พบในผักใบเขียวจัด วอลนัท คาโนล่า  (ดอกไม้สีเหลืองของต่างประเทศ นิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมัน) ถั่วเหลือง และรำข้าว สัญลักษณ์สากลของ ALA จะใช้ C18: 3 n3 หมายความว่ามีคาร์บอน 18 ตัว และมีพันธะคู่ 3 ตำแหน่ง และ เป็นกรดไขมันโอเมก้า-3 ALA ช่วยลดความเสี่ยงของโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ ช่วยป้องกันการเกิดเบาหวาน
            นอกจากโอเมก้า-3 แล้ว ยังมีกรดไขมันที่จำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น เช่นโอเมก้า-6 ตัวอย่างหนึ่งของโอเมก้า-6 เช่น ไลโนเลอิก แอซิด (Linoleic Acid: LLA) พบในไข่ ธัญพืช ไขมันสัตว์ ขนมปัง เมล็ดพืช น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด" สัญลักษณ์สากลจะใช้ C18:2 n6 หมายความว่ามีคาร์บอน 18 ตัว และมีพันธะคู่ 2 ตำแหน่ง และเป็นกรดไขมันโอเมก้า-6
            โอเมก้า-6 เป็นสารตั้งต้นในการสร้าง แกมมา ไลโนเลอิก ซึ่งแกมมาไลโนเลอิกก็เป็นโอเมก้า-6 ตัวหนึ่ง ช่วยต้านการเกาะกันของเกล็ดเลือด ลดหลอดเลือดอุดตันในสมองและเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ และช่วยเพิ่มความจำสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หากขาดโอเมก้า-6 จะทำให้ผิวแห้ง เกล็ดเลือดเกาะตัวกีดขวางการไหลเวียนของโลหิต ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง
            แนะนำให้รับประทานโอเมก้า-6 ปริมาณ 14-17 กรัมต่อวัน ซึ่งการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของโอเมก้า-6 เช่น น้ำมันพืช ธัญพืช ก็ได้รับโอเมก้า-6 เพียงพอแล้ว
            โอเมก้า-9 เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร โอเมก้า-9 ยังสามารถพบได้ในผลมะกอก น้ำมันมะกอกตัวอย่างหนึ่งของโอเมก้า-9 เช่น โอเลอิก แอซิด (Oleic acid) สัญลักษณ์สากลจะใช้ C18: 2 n9 หมายความว่ามีคาร์บอน 18 ตัว และมีพันธะคู่ 2 ตำแหน่ง และเป็นกรดไขมันโอเมก้า-9 หน้าที่ของโอเมก้า-9 คือช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ไม่แห้ง และป้องกันหัวใจตายจากหลอดเลือดอุดตัน เนื่องจากร่างกายสามารถสร้างโอเมก้า-9 ได้ จึงไม่แนะนำให้รับประทานจากอาหาร
 

 ข้อควรระวัง
  • หากใช้น้ำมันที่มีโอเมก้าทั้งหลาย ประกอบอาหาร ไม่ควรทอดที่อุณหภูมิสูงเกิน 180 องศาเซลเซียส เพราะไขมันจะเสียสภาพ
  • โอเมก้า-9 หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ผิวแห้ง เส้นเลือดตีบ ความดัน โลหิตสูง โลหิตจาง นิ่วในถุงน้ำดี และ มะเร็งผิวหนัง
credit ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์ซีลีเนียม

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.