ตระกร้าสินค้า
0 รายการ - 0 บาท
ยังไม่มีรายการสินค้าในตระกร้า!
เข้าสู่ระบบ
|
สมัครสมาชิก
หน้าแรก
รายการโปรด (0)
หน้าสมาชิก
ตระกร้าสินค้า
ยืนยันการสั่งซื้อ
หน้าแรก
»
News Headlines
»
ฟักข้าวสรรพคุณและคุณประโยชน์ 37 ข้อ ที่คุณไม่เคยรู้
ฟักข้าวสรรพคุณและคุณประโยชน์ 37 ข้อ ที่คุณไม่เคยรู้
ฟักข้าวสรรพคุณและคุณประโยชน์ 37 ข้อ ที่คุณไม่เคยรู้
ฟักข้าว
ฟักข้าวเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยสารไลโคปีนและสารอื่น ๆ ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ เช่น เบต้าแคโรทีน แอลฟาแคโรทีน และ ยังมีวิตามินอีสูง ซึ่งสารเหล่านี้มีฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยชะลอความชรา ต้านความเสื่อมของร่างกาย ช่วยการไหลเวียนของเลือด การวิจัยทางการแพทย์ได้พิสูจน์ แล้วว่าไลโคปีนลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่สำคัญยังลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้ดีเมื่อเทียบกับยาฟลูวาสแตติน (Fluvastatin) จึงช่วยในเรื่องของโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก* มะเร็งปอด มะเร็งระบบทางเดินอาหาร และมะเร็งเต้านม
ไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและต้านมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่สร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ต่อมนี้ตั้งอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับท่อปัสสาวะ เมื่อผู้ชายอายุสูงขึ้นคือตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตโรนลดลง ส่งผลให้เซลล์ในต่อมลูกหมากแบ่งตัวมากขึ้น ต่อมลูกหมากจึงโตขึ้น และหากมีการอักเสบร่วมด้วยก็จะมีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งได้สูงขึ้น ไลโคปีนจะควบคุมการโตของต่อมลูกหมากช่วยทำให้เซลล์มะเร็งฝ่อตาย และลดการแบ่งเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก
การวิจัยทางคลินิกเฟส 2 กับอาสาสมัคร 46 คนที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก รับประทานไลโคปืนในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 15 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน พบว่าให้ผลดีขึ้น 50%
การศึกษาในอาสาสมัครชาย 47,894 คน นาน 6 ปี เพื่อหาความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากกับพฤติกรรมบริโภคอาหารได้ผลว่า ผู้ที่รับประทานมะเขือเทศจะมีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำกว่าผู้ที่รับประทานมะเขือเทศน้อยหรือไม่ค่อยได้รับประทาน
จากสถิติจะพบว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มีมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบแม้แต่ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ชาวอิตาเลียน ก็จะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้บริโภคมะเขือเทศ ทั้งนี้เพราะอาหารที่ชาวอิตาเลียนรับประทานกันเป็นหลักจะมีมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบ
ไลโคปีนลดความดันโลหิตและไขมันในเส้นเลือด
การทดลองในกระต่ายที่กินอาหารไขมันสูง พบว่าเมื่อให้ไลโคปีน 4มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถลดไขมันในเส้นเลือดได้และให้ผลดีเมื่อเทียบกับยาฟลูวาสแตติน
ตารางแสดงปริมาณไลโคปีนของผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ
ผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ (1 ถ้วย)
ปริมาณไลโคปีน (มิลลิกรัม)
มะเขือเทศสด
16
น้ำมะเขือเทศ
26
ซอลมะเขือเทศ
44
จะสังเกตได้ว่าซอสมะเขือเทศมีปริมาณไลโคปีืนมากกว่ามะเขือเทศสด ทั้งๆ ที่เราทราบกันอยู่ว่าหากอาหารผ่านความร้อนจะทำให้วิตามินสลายไป ซึ่งข้อมูลนั้นเป็นความจริง แม้ไลโคปีนจะสลายไปบ้างกับความร้อน แต่ความร้อนจะช่วยให้เซลล์ของมะเขือเทศแตก และการบดจะยิ่งทำให้ไลโคปีนออกมานอกเซลล์ได้มากขึ้น และสารไลโคปีนในธรรมชาติจะอยู่ในรูปทรานส์ (trans) ทั้งหมด แต่เมื่อถูกความร้อนจะเปลี่ยนเป็นรูปซิส (cis) ซึ่งดูดซึมได้ดีขึ้นดังนั้นการรับประทานมะเขือเทศหรือฟักข้าวสดร่างกายจะดูดซึมไลโคปีนได้ไม่ดีเท่ากับการรับประทานมะเขือเทศหรือฟักข้าวสุกด้วยความร้อน แต่ความร้อนที่ให้นั้นต้องไม่สูงมาก และไม่ให้ความร้อนเป็นเวลานานเกินไปเพราะจะทำให้ไลโคปีนสลายไป
ไลโคปีนมีฤทธิ์มากกว่าเบต้าแคโรทีนถึง 2 เท่า ในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการเกิดมะเร็ง ซึ่งคนส่วนใหญ่จะรู้จักกันว่าไลโคปีนมีมากในมะเขือเทศ และในงานวิจัยของประเทศแถบยุโรปและอเมริกาก็จะวิจัยกันแต่มะเขือเทศทั้งที่จริงแล้วประเทศไทยมีผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่คล้ายกับผลของกะทกรกคือฟักข้าวนั่นเอง
ฟักข้าวมีชื่อสามัญว่า Spring bitter cucumber ชื่อวิทยาศาสตร์Momordica cochinchinensis Spreng. เป็นพืชวงศ์เดียวกับแตง Cucurbitaceare มีการใช้ประกอบอาหารในประเทศเวียดนาม และใช้เป็นยาแผนโบราณในประเทศจีน ฟักข้าวมี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ไทยและสายพันธุ์เวียดนามซึ่งมีความแตกต่างกันคือ สายพันธุ์ไทยจะโดดเด่นกว่าตรงที่ออกผลได้ตลอดทั้งปี และมีผลผลิตสูงกว่า หากเป็นสายพันธุ์เวียดนามจะออกผลเฉพาะช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม
ในประเทศไทย หลายคนยังไม่รู้จักฟักข้าว แต่ในเวียดนามเป็นที่รู้จักกันดี มีการนำมาใช้ประกอบอาหาร โดยเฉพาะในเขตชนบทซึ่งขาดแหล่งของวิตามินเอ ทำให้คนเกิดโรคตา กระจกตาเสื่อม ตาอักเสบ ก็จะรับประทานฟักข้าว เพื่อนชาวเวียดนามได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ชาวบ้านจะนำเยื่อสีแดงในผลฟักข้าวหรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อแกค (Gac) มาหุงกับข้าว ทำให้ข้าวมีสีแดงระเรื่อ มีกลิ่นหอม และเรียกข้าวนั้นว่า ซอยแกค (Xoi-Gac) หรือข้าวแดง ซึ่งนิยมกันมากในพิธีมงคล เพราะชาวเวียดนามเชื่อว่าสีแดงเป็นสีแห่งมงคล ผลอ่อนฟักข้าวนำมาต้มจิ้มน้ำพริก หรือทำแกงส้ม ผลสุกยังนำมาปรุงเป็นเครื่องดื่มโดยผสมกับน้ำมะนาว ก็จะมีสีแดงชมพูใสที่ชวนดื่ม และกลิ่นหอม งานวิจัยจากประเทศเวียดนามได้ใช้เยีื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวมาหุงข้าวและให้เด็กนักเรียนที่ขาดวิตามินเอจนเกิดภาวะมองไม่เห็นในที่มืดรับประทานต่อเนื่องกัน 30 วัน พบว่าเด็กทั้งหมดหายจากภาวะดังกล่าว ส่วนในประเทศจีนใช้ฟักข้าวเป็นยาแผนโบราณรักษาไข้มาเป็นเวลานานแล้ว
ฟักข้าวเป็นไม้เลื้อยที่นำมาประกอบอาหารได้และยังมีสรรพคุณทางยา ผลสุกจะนิ่มและมีผิวขรุขระ ภายในผลมีเมล็ดและมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสดซึ่งเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงนี้อุดมด้วยไลโคปีนมากกว่าผลไม้ทุกชนิดในโลก มีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 20-70 เท่า โดยปริมาณไลโคปีนในฟักข้าว802 ไมโครกรัม ในมะเขือเทศมี 40-60 ไมโครกรัม ไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่าช่วยชะลอความชรา ต้านความเสื่อมของร่างกาย ช่วยการไหลเวียนของเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยในการมองเห็น และลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเช่น มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร และโดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากนอกจากนี้ยังมีเบต้าแคโรทีนมากกว่าแครอท 10 เท่า มีวิตามินซีมากกว่าส้ม 40 เท่า มีซีแซนทีนมากกว่าข้าวโพด 40 เท่า อุดมด้วยวิตามินอี วิตามินเอกรดไขมันโอเมก้า-3 โอเมก้า-6 และโอเมก้า-9 ซึ่งช่วยเสริมฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและช่วยการไหลเวียนของเลือด
ในฟักข้าวมีไลโคปีนชนิดพิเศษเรียกว่า ไลโปแคโรทีน (Lipocarotene)เป็นกรดไขมันสายยาวที่ช่วยจับแคโรทีน จึงช่วยดูดซึมแคโรทีน ดังนั้นฟักข้าวจึงเป็นแหล่งของไลโคปีนที่ดีที่สุด และยังมีเบต้าแคโรทีนและวิตามินอีธรรมชาติซึ่งให้ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินอีสังเคราะห์ถึง 5 เท่า จึงทำให้ฟักข้าวเป็นผลไม้ที่ต้านความชรา ต้านอนุมูลอิสระ และมะเร็งได้ดีมาก
ประโยชน์ของฟักข้าว
ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้สุขภาพผิวดี ต้านความชรา
ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ช่วยการไหลเวียนของเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ลดความดันโลหิต
ป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งระบบทางเดินอาหาร และมะเร็งเต้านม
บำรุงสายตา ต้านการเกิดจอประสาทตาเสื่อม
เสริมภูมิคุ้มกัน
เป็นแหล่งของวิตามิน ช่วยป้องกันการขาดวิตามิน
เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยในการขับถ่าย
ปกติแล้วหากในแต่ละวันเรารับประทานมะเขือเทศหรือฟักข้าวประมาณ 10-15 กรัม ก็จะได้ไลโคปีนเพียงพอ แต่หากไม่ได้รับประทานมะเขือเทศทุกวันและเป็นผู้เสี่ยงต่อการมีภาวะไขมันสูง ต่อมลูกหมากโต ผจญกับมลพิษก็สามารถรับประทานไลโคปีนเสริมได้
ข้อควรระวัง
ไลโคปีนมีความปลอดภัยหากรับประทานไม่เกิน 75 มิลลิกรัมต่อวันไลโคปีนเป็นสารที่ละลายในไขมัน จะสะสมไว้ที่ตับ หากสะสมมากเกินไปจะทำให้ตัวเหลือง คลื่นไส้ จึงไม่ควรบริโภคมากกว่าที่กำหนดข้างฉลากบรรจุภัณฑ์
credit ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์ซีลีเนียม
Back to Headlines
Continue
>
COPYRIGHT©2024
SIAMPILL
ALL RIGHTS RESERVED.