แปะก๊วย สมุนไพรฟูลคอร์สบำรุงสมอง
แปะก๊วย สมุนไพรฟูลคอร์สบำรุงสมอง
แปะก๊วย
การแพทย์ในปัจจุบันเจริญขึ้นมาก ทำให้ผู้คนมีอายุยืนมากขึ้นแต่สิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้นก็คือ ความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง สารสื่อประสาทถูกทำลาย และอนุมูลอิสระ อัลไซเมอร์จึงเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุมีความเสื่อมมากและได้รับอนุมูลอิสระสะสมมาก จากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุมีสมองใหญ่ (Cerebrum) สูญเสียความทรงจำ (Dementia) มากกว่าคนวัยอื่น พบว่าแปะก๊วยสามารถรักษาอัลไซเมอร์และสมองใหญ่สูญเสียความทรงจำได้
แปะก๊วย (Ginkgo) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ginkgo biloba L. เป็นพืชดึกดำบรรพ์เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนยุคจูแรสสิกซึ่งเป็นยุคของไดโนเสาร์ แต่สามารถอยู่รอดมาถึงปัจจุบันได้ และเป็นพืชชนิดเดียวที่สามารถฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ หลังจากที่เมืองฮิโรชิมาโดนทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งที่น่าสนใจคือแปะก๊วยต้องมีสารชนิดพิเศษที่ปกป้องตนเองจากรังสีในยุคล้านปีที่พืชและสัตว์ต่าง ๆ สูญพันธุ์และต้านกัมมันตรังสีจากระเบิดนิวเคลียร์
ในประเทศจีนสมัยราชวงศ์หมิงได้ใช้แปะก๊วยเป็นยาสมุนไพร ในประเทศญี่ปุ่นก็ได้ใช้แปะก๊วยเป็นยาสมุนไพรเหมือนกับประเทศจีน โดยใช้บรรเทาอาการหอบ อาการระคายเคืองกระเพาะ ติดเหล้า ในยุโรปใช้แปะก๊วยเป็นยาสมุนไพรแก้การไหลเวียนโลหิต ความจำเสื่อม ซึมเศร้า ปวดศีรษะ และเวียนศีรษะ
ปัจจุบันคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยของเยอรมนี (The German Commission E) อนุญาตให้ใช้แปะก๊วยในการรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับความจำ สมาธิไม่ดี ปวดศีรษะ ซึมเศร้า เวียนศีรษะ และแปะก๊วยได้รับการทดสอบทางคลินิกแล้วว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาอัลไซเมอร์
แปะก๊วยมีสรรพคุณด้านเพิ่มความจำ โดยมีกลไกยับยั้งอะซิทิลโคลีนเอสเตอเรส (Acetylcholinesterase: AChE) ซึ่งเป็นสารที่ทำลายสารสื่อประสาทเมื่อเซลล์ประสาทจะส่งสัญญาณถึงกัน เซลล์ประสาทจะใช้สารเคมีเป็นตัวส่งหากในร่างกายมีอะซิทิลโคลีนเอสเตอเรสมาก มันจะทำลายสารเคมีที่สื่อสารระหว่างเซลล์ประสาททำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ จึงขาดข้อมูล พบว่าผู้ที่หลงลืม ความจำไม่ดี คนชรา ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะมีอะซิทิลโคลีนเอสเตอเรสมาก คือมีตัวทำลายสารสื่อประสาทมากนั่นเอง ส่งผลให้เซลล์ประสาทไม่สามารถติดต่อกันได้ จึงเกิดการหลงลืม
นอกจากผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีอะซิทิลโคลีนเอสเตอเรสมากแล้ว ยังมีเซลล์ประสาทและสมองถูกทำลายจากการอักเสบ อนุมูลอิสระ สารพิษ และโปรตีนที่เรียกว่า อะไมลอยด์ เบต้าเปปไทด์ (Amyloid beta-peptide: At) ที่เกิดจากเซลล์ที่ผิดปกติในสมองสร้างขึ้นโดยจะพบว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีอะไมลอยด์เบต้าเปปไทด์สูงกว่าคนปกติ และมีเนื้อสมองถูกทำลายมากกว่าคนปกติ
อีกสาเหตุหนึ่งของอัลไซเมอร์คือหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตันเซลล์สมองจึงตาย สารจิงโกไลด์ บี (Ginkgolide B) ในแปะก๊วยช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด จึงช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น" ช่วยให้สมองได้รับเลือดที่นำสารอาหารและอากาศมาให้พร้อมกับนำของเสียออกไป
นอกจากนี้งานวิจัยระบุว่าวิตามินอีและวิตามินซีลดความเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์ โดยยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระที่ไปทำลายเซลล์สมองแอสไพรินมีคุณสมบัติลดการเกาะกันของเกล็ดเลือด จึงช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ด้วยเหตุผลนี้จึงนำมาใช้ป้องกันและรักษาอัลไซเมอร์ด้วยสารที่ใช้ในการป้องกันและรักษาอัลไซเมอร์
สารที่ใช้ในการปิ้งกันและรักษาอัลไซเมอร์
วิตามินอี |
เบต้าแคโรทีน |
แปะก๊วย |
วิตามินซี |
โฟเลต |
เอสโตรเจน |
วิตามินบี 6 |
ซีลีเนียม |
บักบก |
วิตามิน 12 |
แอสไยริน |
ถั่วเหลือง |
วิตามินเอ |
|
|
ข้อควรระวัง
แปะก๊วยเป็นสมุนไพรหนึ่งที่ใช้รักษาอัลไซเมอร์ และเป็นสมุนไพรยอดนิยมจากทั่วโลกในการรักษาอัลไซเมอร์ ยาที่รักษาอัลไซเมอร์จึงมียอดจำหน่ายเป็นจำนวนมหาศาล ดังนั้นจึงมีผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากแปะก๊วยทั้งในรูปแบบของยาและอาหารเสริม ในบางประเทศ เช่น เยอรมนี ใช้แปะก๊วยสกัดเป็นยา แต่ ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาใช้แปะก๊วยสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัดจากแปะก๊วยที่จำหน่ายก็มีมาตรฐานต่างกัน หลายยี่ห้อผู้ผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานสกัดสารที่เป็นพิษตัวหนึ่งในแปะก๊วยออกมาด้วย นั่นคือสารจึงโกะทอกซิน (Ginkgotoxin) หรือกรดจิงโกลิก (Ginkgolic acids) ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ ส่งผลทำให้อาเจียน หมดสติ ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานต้องมีกรดจิงโกลิกน้อยกว่า 5 ส่วนในล้านส่วน และมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์คือ เทอร์ปืน แลคโตน (Terpene lactones) 6% ฟลาโวนไกลโคไซค์ (Flavone glycosides) 24% ดังนั้นหากจะเลือกซื้อแปะก๊วยที่มีความปลอดภัย จะต้องเลือกจากแหล่งผลิตที่มีมาตรฐาน โดยต้องมีการรับรองว่าไม่มีสารพิษและระบุปริมาณสารสำคัญที่มีฤทธิ์รักษาโรค
หากจะต้มใบหรือผลแปะก๊วยรับประทานเอง ก็จะได้สารพิษดังกล่าวด้วย เพราะสารพิษตัวนี้ละลายในน้ำ การรับประทานผลแปะก๊วยต้มปริมาณมากจะเป็นอันตรายต่อตับมากกว่าที่จะบำรุงสมอง และหากจะนำแปะก๊วยมา แช่แอลกอฮอล์ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะสารพิษตัวนี้ละลายในแอลกอฮอล์ด้วย มีรายงานพบผู้ที่รับประทานเมล็ดแปะก๊วยต้มปริมาณมากแล้วเกิดพิษหลายราย ก็ยังถือว่าโชคดีที่เมล็ดแปะก๊วยมีราคาสูง ทำให้แม่ค้าที่ขายขนมหวานใส่แปะก๊วยลงไปไม่กี่เมล็ด ความเป็นพิษจึงไม่รุนแรง
ห้ามรับประทานแปะก็๊วยพร้อมกับน้ำมันปลา น้ำมันดอกพริมโรสเห็ดหลินจือ กระเทียม แอสไพริน โดยเฉพาะ 7 วันก่อนผ่าตัด เพราะจะทำให้เลือดไม่แข็งตัว
credit ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์ซีลีเนียม
COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.