เบต้าแคโรทีน มีประโยชน์อะไร

เบต้าแคโรทีน มีประโยชน์อะไร

เบต้าแคโรทีน มีประโยชน์อะไร
                เบต้าแคโรทีน เป็นสารอาหารประเภทวิตามินที่ละลายในน้ำมัน พบได้ในผักใบเขียวและผลไม้สีส้ม เหลือง และแดง เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ จึงช่วยในการมองเห็น และปรับสภาพสายตาให้เห็นได้ในที่มืดช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน ป้องกันอันตรายที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมเป็นพิษ ต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการเกิดมะเร็ง สร้างและรักษาเนื้อเยื่อผิวหนัง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และการเจริญเติบโตของร่างกาย
               เบต้าแคโรทีน 1 โมเลกุลสามารถย่อยได้เป็นวิตามินเอ 2 โมเลกุลแต่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอและดูดซึมได้เพียง 1 ใน 3 ของเบต้าแคโรทีนที่ได้รับ ดังนั้นหากรับประทานยอดแคหรือผักใบเขียวเข้มอื่นๆ ก็จะได้รับเบต้าแคโรทีน และร่างกายจะเปลี่ยนให้เป็นวิตามินเอได้โดยปกติคนที่รับประทานผักและผลไม้มักจะไม่ขาดเบต้าแคโรทีน แต่พบว่าผู้ป่วยลำไส้อักเสบจะขาดเบต้าแคโรทีน
                ตารางโภชนาการไม่ได้กำหนดปริมาณเบต้าแคโรทีนที่ร่างกายควรจะได้รับในแต่ละวันเอาไว้ แต่จากการศึกษาประชากร 500,000 คนที่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และบางประเทศในยุโรป พบว่าได้รับเบต้าแคโรทีนจากอาหารเฉลี่ย 2-7 มิลลิกรัมต่อวัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า คนปกติควรได้รับเบต้าแคโรทีนประมาณ 5.2 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ควรได้รับเบต้าแคโรทีนประมาณวันละ 6 มิลลิกรัม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยแนะนำว่า ควรได้รับเบต้าแคโรทีนวันละ 4.8 มิลลิกรัมมีรายงานว่าการรับประทานสารแคโรทีน 200 มิลลิกรัมเป็นเวลา 6 เดือนไม่ปรากฏอาการข้างเคียงใด ๆ
 
กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาได้จัดอันดับอาหาร
ที่มีเบต้าแคโรทีนสูง 10 อันดับดังนี้
อาหาร เบต้าแคโรทีน (มิลลิกรัม / 100 กรัม)
น้ำแครอท 9.3
ฟักทองบรรจุกระป๋อง 6.9
มันฝรั่งอบ 11.5
มันฝรั่งต้ม 9.4
ผักโขมแช่แข็ง 7.2
แครอทต้ม 8.3
ผักโขมบรรจุกระป๋อง 5.9
มันฝรั่งบรรจุกระป๋อง 4.8
แครอทต้มสุกแช่แข็ง 8.2
 
               หากร่างกายได้รับเบต้าแคโรทีนมากเกินไปจะมีอาการตัวเหลืองเรียกว่า Carotenemia คือตัวเหลืองโดยเฉพาะปลายมือและเท้า ซึ่งไม่เป็นอันตราย แต่อย่างใด เพียงแต่หยุดบริโภคเบต้าแคโรทีนสักพักอาการนี้ก็จะหายไปเอง
 
                งานวิจัยเชิงระบาดวิทยาพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่และรับประทานเบต้าแคโรทีนในรูปวิตามินรวมชนิดเม็ดจะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งปอดสูงขึ้น การสำรวจชาวฟินแลนด์ 30,000 คนที่สูบบุหรี่เพื่อหาความสัมพันธ์ของการเกิดโรคมะเร็งปอดกับการรับประทานเบต้าแคโรทีนเสริมนาน 6 ปี พบว่ากลุ่มผู้ที่บริโภคเบต้าแคโรทีน 20 มิลลิกรัม และวิตามินอี 50 มิลลิกรัม เพิ่มการเป็นมะเร็งปอด โดยกลุ่มที่บริโภควิตามินอีเพียงอย่างเดียวไม่เพิ่มการเป็นมะเร็งปอด
                
การสำรวจชาวอเมริกัน 18,314 คนที่สูบบุหรี่และทำงานในแหล่งอุตสาหกรรมแร่ใยหิน (Asbestos) เพื่อหาความสัมพันธ์ของการเกิดโรคมะเร็งปอดกับการรับประทานเบต้าแคโรทีนเสริมนาน 4 ปี พบว่ากลุ่มผู้ที่บริโภคเบต้าแคโรทีน 30 มิลลิกรัม และวิตามินเอ 25,000 เบ เพิ่มการเป็นมะเร็งปอด
                การสำรวจชาวอเมริกัน 22,071 คนที่สุขภาพปกติกับการรับประทานเบต้าแคโรทีนเสริม 50 มิลลิกรัม เพื่อหาความสัมพันธ์ของการเกิดโรคมะเร็งปอดโดยศึกษานานถึง 12 ปี พบว่าคนที่สุขภาพปกติกับการรับประทานเบต้าแค่โรทีนเสริมไม่เพิ่มการเป็นมะเร็งปอด
               จะเห็นได้ว่าผู้ที่ร่างกายปกติแล้วรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่างกายก็ปกติ ไม่เพิ่มการเป็นโรค แต่ในผู้ที่ไม่ปกติ เช่น ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง หากรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพิ่ม โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีนเสริมยิ่งเพิ่มการเป็นมะเร็ง
               บางครั้งอาจพบสารที่ชื่อว่า เบตาทีน (Betatene) เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพราะเบตาทีนเป็นสารที่ให้เบต้าแคโรทีน และเป็นสารที่สกัดได้จากสาหร่ายทะเล Dunaliella salina ซึ่งมีสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์หลายตัว โดยมีเบต้าแคโรทีนราว 10% เบตาทีนได้รับการรับรองความปลอดภัย
GRAS จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา
               สุราเหล็ก และยาประเภทคอร์ติโซน ด้านฤทธิ์เบด้าแคโรทีนนอกจากนั้นพบว่าผู้ป่วยเบาหวานก็มีความบกพร่องในการเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนให้เป็นวิตามินเอ


credit ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.