การตีกันระหว่าง ยา กับ อาหารเสริม มีอะไรบ้าง

การตีกันระหว่าง ยา กับ อาหารเสริม มีอะไรบ้าง

อันตรกิริยาระหว่างพืชสมุนไพรและยา

        อันตรกิริยาเรียกแบบชาวบ้านว่า "ตีกัน" หมายถึง หากใช้ยาตัวหนึ่งกับยาอีกตัวหนึ่ง หรือใช้ยาตัวหนึ่งกับสมุนไพรชนิดหนึ่งแล้วเข้ากันไม่ได้ มีการล้างฤทธิ์กัน หรือทำให้เกิดผลเสีย คงจะเคยได้ยินคำโบราณที่ว่า อย่ารับประทาน ยาพร้อมกับฟัก เพราะมันจะล้างฤทธิ์ยา" ซึ่งทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วก็พบว่ามีสมุนไพรหลายตัวทีเดียวที่ตีกับยา ล้างฤทธิ์ หรือเพิ่มฤทธิ์ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างเฉพาะตัวที่เป็นที่นิยม อาจจะไม่ครบทุกตัว เพราะสมุนไพรมีมากและยังไม่มีการพิสูจน์ทั้งหมด
       กระเทียม มีผลเมื่อใช้ร่วมกับยาด้านไวรัส (Saquinavir) ทำให้ปริมาณยาในเลือดลดลงมากกว่า 20%
       ชาเขียว มีผลเมื่อใช้ร่วมกับยารักษาโรคจิต (Buspirone) ทำให้ปริมาณยาในเลือดสูงขึ้นมากกว่า 20% และมีผลเมื่อใช้ร่วมกับกรดโฟลิก ทำให้ปริมาณยาในเลือดลดลงมากกว่า 20%
       พริก มีผลเมื่อใช้ร่วมกับธาตุเหล็ก ลดการดูดซึมธาตุเหล็กลงน้อยกว่า20%
       ขมิ้น มีผลเมื่อใช้ร่วมกับยารักษาโรคหัวใจ (Talinolol) ทำให้ปริมาณยาในเลือดลดลงมากกว่า 20%
       แปะก๊วย มีผลเมื่อใช้ร่วมกับยานอนหลับ (Alprazolam) ทำให้ปริมาณยาในเลือดลดลง มีผลเมื่อใช้ร่วมกับยารักษาโรคหัวใจ (Talinolol) ทำให้ปริมาณยาในเลือดสูงขึ้นมากกว่า 20% ทั้งยังมีผลเมื่อใช้ร่วมกับยากดประสาท(Midazolam) ทำให้ปริมาณยาในเลือดลดลงมากกว่า 20% และทำให้เลือดแข็งตัวช้า จึงไม่ควรใช้กับยาแอสไพรินและน้ำมันปลา
  พริกไทยดำ มีผลเมื่อใช้ร่วมกับยารักษาโรคลมชัก (Pherytoin) ทำให้ปริมาณยาในเลือดสูงขึ้น" พริกไทยหากรับประทานกับสมุนไพรอื่นที่ดูดซึมยาก เช่น ขมิ้น พริกไทยจะช่วยให้ขมิ้นดูดซึมได้ดีขึ้น ดังนั้นหากรับประทานขมิ้นควรรับประทานพร้อมพริกไทย
       ใยอาหาร มีผลเมื่อใช้ร่วมกับธาตุเหล็ก ลดการดูดซึมธาตุเหล็กและมีผลเมื่อใช้ร่วมกับยาลดคอเลสเตอรอล (Lovastatin) ทำให้ฤทธิ์ยาลดลง
       เมื่อทราบดังนี้แล้ว ก่อนใช้ยาอะไรร่วมกับสมุนไไพรควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะสมุนไพรอาจไปเพิ่มฤทธิ์ยาทำให้ยาออกฤทธิ์แรงขึ้น ซึ่งอาจเกิดโทษได้ แต่บางกรณีก็เป็นข้อดี เพราะถ้าสมุนไพรเพิ่มฤทธิ์ยา แพทย์อาจลดปริมาณการใช้ยาลง เช่นใยอาหารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แพทย์อาจลดปริมาณการใช้ยารักษาเบาหวานลง หรือสมุนไพรบางชนิดลดฤทธิ์ยา จะทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ ส่งผลให้การรักษาได้ผลไม่ดี
 
credit ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์ซีลีเนียม

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.