ธาตุสังกะสี เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน หมดปัญหาผมร่วง
ประโยชน์ของสังกะสี
- ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์ต่างๆ สังกะสีจำเป็นต่อโครงสร้างและการทำงานของเอนไซม์กว่า 300 ตัว เอนไซม์ที่มีสังกะสีประกอบเช่า Alcohol dehydrogenase, Carbonic anhydrase และ Carboxypeptidase จึงมีความสำคัญในกระบวนการเจริญเติบโตและพัฒนาการในเด็ก
- ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันและลดการติดเชื้อทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ
- ช่วยในการทำงานของอินซูลิน และป้องกันการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระซึ่งมีมากในผู้ป่วยเบาหวาน
- บรรเทาอาการหวัด ช่วยให้หวัดหายเร็วขึ้น
- จำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง ผม เล็บ
- ช่วยสมานแผล รักษาแผล
- ต้านอนุมูลอิสระ
- ต้านการอักเสบ
- ลดความดันโลหิตสูง หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ
- กระตุ้นการสร้างเนื้อกระดูก ลดการสลายของกระดูก
- กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ องค์การอนามัยโลก ได้ใช้สังกะสีและเหล็กเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้แก่ทารกอายุ 3-6 เดือน เพื่อป้องกันโรคท้องร่วงและโลหิตจาง
สังกะสีกับหวัด
การศึกษาเชิงระบาดวิทยากับประชากรกลุ่มใหญ่ พบว่าสังกะสีลดความรุนแรงของหวัด ช่วยให้หายจากหวัดเร็วขึ้น
สังกะสีรักษาสิวได้จริงหรือ
มีข้อความกล่าวอ้างว่าสังกะสีช่วยรักษาสมดุลของปริมาณไขมันในผิวหนัง จึงช่วยลดการอุดตันของไขมันที่เป็นสาเหตุของสิว ทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฆษณาว่าการรับประทานสังกะสีปริมาณมากช่วยป้องกันการเกิดสิว แต่จากรายงานการวิจัยทางการแพทย์พบว่าการรักษาสิวด้วยสังกะสีไม่มีประสิทธิภาพ วารสารทางสมาคมแพทย์ผิวหนังของสหรัฐอเมริกาไม่ได้จัดให้การใช้สังกะสีเป็นวิธีมาตรฐานในการรักษาสิว และแพทย์ผิวหนังทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศก็ไม่ได้สั่งจ่ายสังกะสีเป็นยารักษาสิวเนื่องจากต้องใช้สังกะสีในปริมาณสูงถึง 30 มิลลิกรัมต่อวัน และยังให้ผลไม่ชัดเจน
สังกะสีเสริมสมรรถภาพทางเพศได้หรือ
จากประโยชน์ที่ว่าสังกะสีช่วยสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ในน้ำอสุจิมีสังกะสีอยู่มาก อีกทั้งสังกะสีจำเป็นต่อการทำงานของต่อมลูกหมาก และการเจริญของการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ยังไม่มีงานวิจัยรับรองว่าสังกะสีช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ และจากการที่พบว่าในหอยนางรมมีสังกะสีมาก ผู้ที่ต้องการเสริมสมรรถภาพทางเพศจึงนิยมรับประทานหอยนางรมมากอาจทำให้เกิดคอเลสเตอรอลสูงได้ กลับกลายเป็นว่าทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี เสื่อมสมรรถภาพแทน
แหล่งของสังกะสี
แหล่งของสังกะสี ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ ตับ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยนางรม เนยแข็ง ข้าวสาลี งา อัลฟัลฟา ถั่ว ธัญพืชทั้งเมล็ด (Whole grains) เมล็ดฟักทอง เมล็ดดอกทานตะวันในพืชจะมีสังกะสีน้อย หากธัญพืซมีการขัดสี ด้วยแล้วสังกะสีจะหมดไป สังกะสีจากสัตว์จะมีมากและดูดซึมง่ายกว่าในพืชเพราะกรดอะมิโนจากการย่อยโปรตีนจากเนื้อสัตว์ช่วยในการดูดซึมสังกะสีได้ดีขึ้น และในพืชจะมีสารไฟเตตซึ่งจะยับยั้งการดูดซึมสังกะสีในลำไส้ ส่งผลให้เด็กในประเทศอียิปต์มีร่างกายแคระแกร็น
ตารางแสดงปริมาณสังกะสีในอาหาร
อาหาร |
ปริมาณสังกะสี (มิลลิกรัม) |
น้ำนมถั่วเหลืองครึ่งถ้วย |
0.3 |
ต้าหู้แข็งครึ่งถ้วย |
1.0 |
ถั่วแดงสุกครึ่งถ้วย |
0.9 |
งา 2 ช้อนโต๊ะ |
1.4 |
ถั่วลันเตาสุกครึ่งถ้วย |
1.0 |
ไข่ฟองใหญ่ 50 กรัม |
0.5 |
โยเกิร์ตครึ่งถ้วย 125 กรัม |
0.8-1.2 |
เนื้อสัตว์ อาหารทะเล 100 กรัม |
1.5-4 |
หอยนางรม 100 กรัม |
75 |
ตับ 100 กรัม |
4 |
ธัญพืช 100 พรัม |
0.4-1 |
ปริมาณรับประทาน
ปริมาณความต้องการสั่งกะสีของแต่ละคนจะแตกต่างกันตามเพศ อายุ และภาวะของร่างกาย ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดปริมาณสังกะสี ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันไว้ดังตารางด้านล่าง
ตารางแสดงปริมาณสังกะสีที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
อายุ |
ปริมาณสังกะสีที่ร่างกายต้องการ (มิลลิกรัม/วัน) |
น้อยกว่า 1 ปี |
3-5 |
1-10 ปี |
10 |
11 ปีขึ้นไป |
15 |
สตรีมีครรภ์ |
20-25 |
สตรีให้นมบุตร |
25-30 |
การดูดซึมสังกะสี
สังกะสีในรูปของออกไซด์ (Zinc oxide) และคาร์บอเนต (Zinc carbonate)ละลายยากและดูดซึมไม่ดี สังกะสีในรูปกลูโคเนต (Zinc gluconate) เป็นรูปที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพิ่งมีการค้นพบไม่กี่ปีมานี้ว่าสังกะสีในรูปไกลซิเนต (Zinc glycinate) ร่างกายจะดูดซึมได้ดีที่สุด จึงเหมาะที่จะใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ตารางแสดงหน้าที่ของสารอาหารที่มีผลเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย
สารอาหาร |
หน้าที่ |
อาการเมื่อขาด |
วิตามินบี 1 |
สลายคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน |
อ่อนแรง น้ำหนักลด |
วิตามิน บี2 |
กระบวนการสันดาปให้เกิดพลังงาน |
ผิวหนัง ประสาท เยื่อเมือกปกติ |
ไนอะซีน |
กระบวนการสันดาปให้เกิดพลังงาน |
ระคายเคือง ท้องร่วง |
วิตามินบี 6 |
การสร้างน้ำตาล |
ผิวเป็นผื่นแดง ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ |
วิตามินบี 12 |
สร้างเม็ดเลือดแดง |
โลหิตจาง ระบบประสาทผิดปกติ |
กรดโฟลิก |
การสร้างฮีใมโกลบินในเม็กเลือดเดง
และสร้างสารพันธุกรรม |
โลหิตจาง ล้า อ่อนแรง |
วิตามินซี |
ต้านอนุมูลอิสระ |
ล้า ไม่อยากอาหาร |
วิตามินเอ |
ต้านอนุมูลอิสระ |
ไม่อยากอาหาร ติดเชื้อ |
วิตามินอี |
ต้านอนุมูลอิสระ |
ประสาทและหล้ามเนื้อถูกทำลาย |
แมกนีเซียม |
กระบวนการวร้างพลังงาน การนำกระแส |
กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้ ระคายเคือง |
เหล็ก |
การสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง |
โลหิตจาง ความจำเสื่อม ภูมิคุมกันผิดปกติ |
สังกะสี |
สร้างสารพันธุกรรม สลายน้ำตาล กำจัดคาร์บอนไดออกไซค์ |
ไม่อยากอาหาร พัฒนาการเจริญเติบโตต่ำ ภูมิคุ้มกันผิดปกติ |
โครเมียน |
สันดาปน้ำตาล |
ไม่ทนต่อนน้ำตาล |
การขาดสังกะสี
การขาดสังกะสีพบได้ในเด็กทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาการขาดสังกะสีมีผลต่อการผลิตน้ำนมของแม่
ไม่ควรรับประทานสั่งกะสีพร้อมกับแคลเซียม เหล็ก ทองแดง แมงกานีสเพราะจะขัดขวางการดูดซึม
ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณสังกะสีไม่เพียงพอ ได้แก่
- การรับประทานอาหารที่มีปริมาณสังกะสีต่ำ
- การรับประทานทองแดงเสริมมากเกินไป เพราะทองแดงจะลดการดูดซึมสังกะสี
- ผู้ที่รับประทานเมล็ดพืชมากจะได้รับไฟเตตซึ่งเป็นสารที่พบมากในผักและธัญพืช จะลดการดูดซึมสังกะสี ดังนั้นผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติจะมีสังกะสีต่ำเนื่องจากดูดซึมได้ไม่ดี ดังนั้นอาจรับประทานสังกะสีเสริม
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะลดการดูดซึมสังกะสี
- อายุที่มากขึ้นส่งผลให้ประสิทธิภาพการดูดซึมสังกะสีลดลง
- ผู้ที่อยู่ในระยะตั้งครรภ์ต้องการสังกะสีมากเป็นพิเศษ
- การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
- โรคต่าง ๆ ที่ต้องการธาตุสังกะสีมากเป็นพิเศษ เช่น การติดเชื้อ เรื้อรัง ผิวหนังอักเสบ (Psoriasis) ตับแข็ง (Cirthosis) โรคพันธุกรรมในเด็กเล็ก (Acrodermatitis enteropathica) โรคผิวหนังอักเสบ ผู้ป่วยโรคตับ ไต เบาหวาน จะดูดซึมสังกะสีต่ำ
อาการเมื่อขาดสังกะสีเป็นเวลานาน
- การเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้าในเด็ก ทำให้เด็กตัวเล็ก
- อวัยวะเพศเด็กไม่โตขึ้นตามวัย
- ผิวหนังมีการอักเสบเป็นผื่นแดง ระยะแรกจะเป็นรอบปากและอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนขา และพุพอง
- การรู้รสลดน้อยลง เบื่ออาหาร
- ผมร่วง ผมแห้งแตกปลาย เล็บเปราะ เป็นจุดขาว ผิวแห้ง
- ตาฟางหรือตาบอดกลางคืนเหมือนกับการขาดวิตามินเอ เพราะสังกะสีมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนในรงควัตถุที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น
- แผลหายช้า
- ภูมิต้านทานลด
- เมื่อสังกะสีในร่างกายมีระดับต่ำจะส่งผลต่อความดันโลหิตสูง เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ เบาหวาน อินซูลิน
โทษของการได้รับสังกะสีมากเกินไป
ในกรณีที่บริโภคมากกว่าวันละ 100 มิลลิกรัมเป็นเวลานานจะมีผล เพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
หากร่างกายได้รับสั่งกะสีเกินกว่า 200 มิลลิกรัมจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
การได้รับสังกะสีในปริมาณสูงเกินกว่า 1.5 เท่าของปริมาณที่แนะนำติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดทองแดงเพราะสังกะสีลดการดูดซึมเหล็กและทองแดง0
การรับประทานสังกะสีมากเกิน 325-650 มิลลิกรัม ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เกร็งกล้ามเนื้อท้อง ปวดเกร็ง ท้องร่วง หากสตรีมีครรภ์ได้รับมากเกินไปจะทำให้ทารกพิการหรือเสียชีวิต.2 หากได้รับปริมาณสูงกว่า4 กรัม อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
ไม่ควรรับประทานเกิน 20 มิลลิกรัมต่อวัน หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกากำหนดค่าสูงสุดของการได้รับสังกะสีไว้ที่ 40 มิลลิกรัมต่อวัน
credit ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์ซีลีเนียม