ธาตุเหล็กกับปัญหาภาวะโลหิตจาง
เหล็ก
เหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือด กล้ามเนื้อ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยช่วยป้องกันและต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาทและกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย
ในร่างกายมีเหล็กประมาณ 3-5 กรัมในเพศชายจะมีเหล็กสูงกว่าเพศหญิง 70% ของเหล็กอยู่ในเม็ดเลือดแดง ในเลือด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรมีเหล็กประมาณ 40-50 มิลลิกรัม เหล็กอีก 30% อยู่ในตับ ม้าม ไขกระดูก และกล้ามเนื้อ
เหล็กที่ว่านี้ไม่ใช่เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้าง แต่เป็นเหล็กในอีกรูปหนึ่ง(รูปสนิมเหล็ก) ในภาคอีสาน สตรีมีครรภ์จะมีความรู้สึกอยากรับประทานดินเพราะร่างกายต้องการธาตุเหล็กมากเป็นพิเศษจึงเกิดความอยากรับประทานดินแดงซึ่งมีธาตุเหล็กอยู่ ก็จะเอาดินนั้นมาเผาไฟแล้วรับประทาน แม้แต่การใช้ภาชนะเหล็กปรุงอาหารก็จะทำให้อาหารมีเหล็กเพิ่มขึ้น เหมือนที่ได้กล่าวไว้ในเรื่องทองแดงว่าการใช้กระทะทองแดงปรุงอาหารก็จะทำให้ร่างกายได้รับธาตุทองแดงจากกระทะทองแดง
เหล็กพบมากในหอยแครง หอยนางรม ปลาถั่วแดง มะเขือพวง เนื้อสัตว์ ไข่แดง ถั่ว ผักใบเขียว ยีสต์ สาหร่ายโดยเหล็กจากเนื้อจะดูดซึมได้ 5-35% ซึ่งดีกว่าเหล็กจากผัก ซึ่งดูดซึมได้ 2-20%แต่ยังพบว่า 60% ของเหล็กในรูปของอาหารจะดูดซึมยาก ดังนั้นจึงควรรับประทานพร้อมกับวิตามินซีซึ่งจะช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก
ตารางแสดงปริมาณเหล็กในอาหาร
อาหาร |
ปริมาณเหล็ก (มิลลิกรัม) |
น้ำนมถั่วเหลืองครึ่งถ้วย |
0.4-1.0 |
เต้าหู้แข็งครึ่งถ้วย |
6.6 |
ถั่วแดงสุกครึ่งถ้วย |
2.6 |
งา 2 ช้อนโต๊ะ |
2.7 |
ข้าวโอ๊ตสุกครึ่งถ้วย |
2.1 |
พรุนแห้ง ¼ ถ้วย |
1.1 |
บรอกโคลีสุกครึ่งถ้วย |
0.7 |
มันฝรั่งสุกขนาดกลาง 1 หัว |
2.3 |
credit ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์ซีลีเนียม