ความรู้เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมประเภท สมุนไพร

ความรู้เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมประเภท สมุนไพร

ความรู้เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมประเภท สมุนไพร

อาหารหลายเมนูมีสมุนไพรเป็นองค์ประกอบ อาทิเช่น ขมิ้นชันใส่ในข้าวหมกไก่กระชาย กระเทียม ตะไคร้ใส่ในต้มยำ และกะเพราใส่ในผัดเผ็ด สมุนไพรเหล่านี้นั้น มีความปลอดภัยเพราะมีการรับประทานกันมายาวนานแล้วค่ะ ดังนั้นทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงอนุญาติให้ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้ค่ะ
ข้อกำหนดที่สำหรับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ใช้สมุนไพร
1 สมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบของอาหาร มีประวัติการใช้เป็นอาหาร หรือใช้เป็นทั้งอาหารและยา แต่นำไปพัฒนารูปแบบจากที่เคยใช้กันมาดั้งเดิมให้ยื่นหลักฐานแสดงประวัติการใช้วัตถุดิบรูปแบบดั้งเดิมเป็นอาหาร และผลการศึกษาพิษเฉียบพลัน (Acute toxicity) ของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ตัวอย่าง สมุนไพรที่มีประวติการใช้เป็นอาหาร เช่น เหง้ากระชายดำ ใบปัญจขันธ์ ใบพลูดาว ผลสมอไทย ผลสมอพิเภก ผลมะขามป้อม
2 สมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ไม่มีประวัติการใช้เป็นอาหาร ให้ยื่นผลการศึกษาความเป็นพิษเรื้อรัง (Chronic toxicity) ในสัตว์ทดลอง ตัวอย่างสมุนไพรที่มีข้อมูลความปลอดภัยไม่เพียงพอและไม่มีข้อมูลการใช้เป็นอาหาร เช่น เปลือกมังคุด (ปกติรับประทานเนื้อ ไม่รับประทานเปลือก) ใบกฤษณา ใบหูกวาง
 
จากข้อกำหนดดังกล่าวนั้น เราสามารถพบสมุนไพรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาสมุนไพรหรือเป็น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมค่ะ อาทิเช่น ขมิ้นหากบดบรรจุแคปซูลจะจัดเป็นยาสมุนไพร และขอขึ้นทะเบียนตามยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติส่วนสารสกัดจากขมิ้นจะจัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมค่ะ


credit คู่มือ อาหารเสริม 
ผู้เขียน ดร. เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.