วิตามินบี 6 ประโยชน์ แหล่งอาหาร และ อาการเมื่อขาด

วิตามินบี 6 ประโยชน์ แหล่งอาหาร และ อาการเมื่อขาด

วิตามินบี 6 ประโยชน์ แหล่งอาหาร และ อาการเมื่อขาด
 
          วิตามินบี 6 หรือไพริดอกซิน (Pyridoxine) พบในยีนส์ ไข่ เนื้อสัตว์ ขนมปัง ธัญพืช ถั่ว ปลา ตับ ข้าวซ้อมมือ นม กล้วย และผัก

          วิตามินบี 6 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันสร้างเนื้อเยื่อและการเจริญเติบโตเผาผลาญไขมันและคาร์โบไฮเดรตให้เป็นพนังงานช่วยในการทำงานขงระบบย่อยอาหารช่วยบำรุงผิวหนังเป็นสารที่จำเป็นในการทำงานของระบบประสาทหากในเด็กขาดจะทำให้เรียนรู้ช้า ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง (ฮีโมโกลบิน) บรรเทาอาการเจ็บหน้าอกและปวดมดลูกก่อนมีประจำเดือน ลดการคลื่นไส้ อาเจียนในสตรีมีครรภ์ การศึกษาเชิง ระบาดวิทยาพบว่า วิตามินบี 6 ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้

          วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และโฟเลต ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ วิตามินบี 6 เป็นสารอาหารที่พบการขาดได้บ่อย การปรุงอาหารโดย ความร้อนจะทำลายวิตามิน 50% นมผงที่ซงด้วยน้ำร้อนจะสูญเสียวิตามินบี 6 ผู้สูงอายุและผู้ติดสุรามักจะขาดวิตามินบี 6"ผู้ที่ควรได้รับวิตามินบี 6 คือ ผู้รับประทานยาแก้ซึมเศร้า ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนทดแทน ผู้แพ้ผงชูรส

          ร่างกายต้องการวิตามินบี 6 วันละ 2 มิลลิกรัม หากได้รับมากเกิน2.000 มิลลิกรัมจะทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า


          อาการเมื่อขาดวิตามินบี 6 ทำให้ผิวหนังอักเสบ คันตามผิวหนัง เกิดผื่น เกิดสิว ปากแห้งแตกลิ้นอักเสบ เล็บเป็นคลื่น ผมร่วง กระดูกผุ ข้อเสื่อม ปวดตามมือตามเท้า ขับออกซาเลตมากทำให้เกิด นิ่ว ประสาทเสื่อม ลมชัก นอนไม่หลับ หงุดหงิด ซึมเศร้า อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก บวมก่อนมีประจำเดือน วิตามินบี 6 สร้างโปรตีนให้ทารกในครรภ์ เมื่อแม่ขาดวิตามินบี 6 ก็จะเกิดอาการอาเจียน ซึมเศร้า วิตามินบี 6
จึงใช้เป็นยาแก้แพ้ท้องและแก้อาเจียนจากการแพ้ท้องได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

          หากขาดวิตามินบี 6 อาจส่งผลต่อการขาดวิตามินบี 3 ได้ เนื่องจากวิตามินบี 6 เปลี่ยนกรดอะมิโนทริปโทเฟน 60 มิลลิกรัมไปเป็นวิตามินบี 3 ได้ 1 มิลลิกรัม และการรับประทานข้าวโพดเป็นอาหารหลักจะทำให้ขาดวิตามินบี 3 เพราะข้าวโพดมีทริปโทเฟนต่ำ

ตารางแสดงปริมาณของวิตามินบี 6 ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน
จำแนกตามช่วงอายุ

 
ช่วงอายุ ปริมาณของวิตามินบี 6
(มิลลิกรัม)
ปริมาณสูงสุดที่ห้ามรับประทานเกิน
(มิลลิกรัม)
ทารก
0-6 เดือน
7-12 เดือน
 
0.1
0.3
 
ไม่มีรายงาน
ไม่มีรายงาน
เด็ก
1-3 ปี
4-8 ปี
 
0.5
0.6
 
30
40
ผู้ชาย
9-13 ปี
14-18 ปี
19-50 ปี
50->70ปี
 
1.0
1.3
1.3
1.7
 
60
80
100
100
ผู้หญิง
9-13 ปี
14-18 ปี
19-50 ปี
50 - > 70 ปี
 
1.0
1.2
1.3
1.5
 
60
80
100
100
สตรีมีครรภ์
< 18ปี
19-50 ปี
 
1.9
1.9
 
80
100
สตรีให้นมบุตร
< 18ปี
19-50 ปี
 
2.0
2.0
 
80
100
  
credit ดร.เริงฤทธิ์ สัปปพันธ์
 

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.