การ กินไข่ทุกๆวัน นั้น ดีหรืไม่ ความจริงเกี่ยวกับ ไข่

การ กินไข่ทุกๆวัน นั้น ดีหรืไม่ ความจริงเกี่ยวกับ ไข่

การ กินไข่ทุกๆวัน นั้น ดีหรืไม่ ความจริงเกี่ยวกับ ไข่

       ยังเป็นที่กังขากันพอสมควรเกี่ยวกับการบริโภคไข่ กันว่า  ตกลงมันดีหรือไม่ดียังไง ก่อนหน้านี้ เราถูกปลูกฝังว่าไข่มีคอเลสเตอรอลสูงค่ะ  ไม่ดีต่อสุขภาพ  คนที่กลัวไขมันอุดตันในเส้นเลือดจึงมักเลือกรับประทานแต่ไข่ขาวค่ะ  หลีกเลี่ยงไข่แดงค่ะ จนช่วงหลัง ๆ มีข้อมูลออกมาแย้งว่าไข่ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดค่ะ  แต่กลับเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพแถมเป็นแหล่งโปรตีนราคาย่อมเยาค่ะ  ก็ทำเอาสับสนไปตามๆ กันว่าจะเชื่อข้อมูลไหนดีกันแน่  วันนี้ไม่ได้จะมาต่อต้านหรือเชียร์ให้รับประทานไข่ค่ะ แต่จะเอาข้อมูลบางส่วนมานำเสนอเพื่อประกอบการตัดสินใจค่ะ
            ก่อนอื่นมาว่ากันถึงประโยชน์ของไข่กันก่อน  ความจริงแล้วไข่จัดเป็น Super  Food  อย่างหนึ่งค่ะ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะมีกรดอะมิโนทั้ง  9  ที่จำเป็นต่อร่างกายครบครันค่ะ  ทั้งยังอุดมด้วยสารอาหารต่าง ๆ อาทิ  แคลเซียม  โอเมก้า – 3  วิตามินเอ  วิตามินบี  (โดยเฉพาะบี  6  และบี  12) ค่ะ ในส่วนของไข่แดงจะมีวิตามินดีสูงซึ่งช่วยบำรุงกระดูกและเพิ่มภูมิคุ้มกันค่ะ และยังมีสารโคลีนที่ช่วยบำรุงสมองค่ะ  รวมถึงลูทีนที่บำรุงสายตาอีกด้วย ยังไม่นับรวมแร่ธาตุต่าง ๆค่ะ อาทิเช่น ธาตุเหล็ก  ซีลีเนียม  และฟอสฟอรัส  ซึ่งล้วนจำเป็นต่อร่างกายค่ะ
            ฟังดูก็น่าจะดีแต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ไขยังมีสารอาหารอย่างอื่นที่ผู้คนไม่ค่อยปรารถนาค่ะ  นั่นคื  คอเลสเตอรอลในไข่แดง  ไข่ 1 ฟองจะมีคอเลสเตอรอลประมาณ  190  มิลลิกรัม  มีไขมันอิ่มตัวราว  1.6 กรัม นอกจานั้น ในไข่ขาวยังมีโซเดียมสูง เฉลี่ย  400  มิลลิกรัมต่อฟองค่ะ  ไข่เป็นอาหารที่ให้แคลอรีสูงค่ะ ในผู้ใหญ่ทั่วไป เราต้องการแคลอรีประมาณ  2,000-2,500  แคลอรี  ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนซึ่งไขแค่  1 ฟองให้พลังงาน  70-90  แคลอรี
            ในเมื่อไข่มีทั้งด้านบวกและด้านลบเช่นนี้แล้วนั้น  การเลือกบริโภคไข่จึงต้องเป็นไปด้วยความชาญฉลาดค่ะ  สำหรับผู้ใหญ่อย่างเราๆ ที่ไม่ได้มีปัญหาด้านสุขภาพหรือมีโรคประจำตัว  พวก  เบาหวาน  ความดันสูง  ไขมันในเลือดสูง  หรือโรคหัวใจ  มีข้อแนะนำควรรับประทานไข่  4  ฟองหรือน้อยกว่านั้นต่อสัปดาห์ค่ะ  ส่วนเด็กๆ ร่างกายต้องการโปรตีนเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเจริญเติบโตค่ะ จะสามารถรับประทานได้วันละฟองค่ะ  อย่างไรก็ตาม  พึงสังวรว่าอาหารอื่นๆ ที่เรารับประทานก็มีส่วนประกอบของไข่เช่นกันค่ะ  อาทิเช่น  แป้งพิซซ่า  ไอศกรีม  เส้นพาสต้า  คุกกี้  เค้ก  ขนมอบทั้งหลายไปจนถึงขนมไทยหลายอย่างค่ะ  ไม่ว่าจะเป็น  ทองหยิบ  ทองหยอด  สังขยา  หม้อแกง  ฝอยทอง  และอื่น ๆ อีกมากมายค่ะ  ดังนั้น อย่าคิดว่าการรับประทานไข่ 1  ฟองก็จบที่ไข่ฟองเดียวเท่านั้น  ไข่ยังแอบแฝงอยู่ตามอาหารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน  เราจึงต้องประเมินเองว่าสมควรจะรับประทานมากน้อยแค่ไหนค่ะ
            สำหรับคนที่ชอบรับประทานไข่แต่กลัวคอเลสเตอรอล  ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ส่วนใหญ่มักเลือกรับประทานไข่ขาวแล้วเขี่ยไข่แดงทิ้ง  อันนี้ช่วยได้เพราะในไข่ขาวไม่มีคอเลสเตอรอลค่ะ  และมีแคลอรีไม่ถึง  20  แคลอรีค่ะ  ว่ากันว่ารับประทานไข่ขาว  2  ฟอง ก็จะได้โปรตีนเทียบเท่าไข่ทั้งใบ  1  ฟองค่ะ  สำหรับผู้ป่วยบางโรค  เช่นโรคไต  และความดันสูง ไข่ขาวอาจจะเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีค่ะ แต่อย่าลืมว่าในไข่ขาวมีโซเดียมค่อนข้างสูงค่ะ  เพื่อความปลอดภัย  จึงควรปรึกษาแพทย์หรือโภชนากรถึงปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภคค่ะ
            ตามซูเปอร์มารืเก็ตปัจจุบันจะเห็นไข่เสริมธาตุอาหาร อาทิเช่น  โอเมก้า-3 วางจำหน่ายค่ะ  ถึงจะราคาแพงกว่าไข่ทั่วไปแต่เชื่อว่ากลุ่มคนรักสุขภาพยินดีซื้อหามารับประทานค่ะ  ไข่เสริมโอเมก้า-3  เกิดจากแม่ไก่ที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารที่มีโอเมก้า – 3  สูงค่ะ  อาทิเช่น  ถั่วเหลืองหรือเมล็ดฝ้าย  (Flax  Seed)  และกรดไขมันโอเมก้า – 3  นี่เองที่มีคุณสมบัติป้องกันโรคหัวใจค่ะ  สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้น  กรดไขมันชนิดนี้ยังจำเป็นต่อการเติบโตของทารกในครรภ์อีกด้วยค่ะ
            ไข่ดิบล่ะรับประทานแล้วมีประโยชน์ไหม  หลายๆ คนชอบรับประทานไข่ดิบกัน
ไข่ลวก  ไข่ดาวไม่สุกด้วยเชื่อว่าบำรุงร่างกายดีกว่าไข่สุก  ความจริงแล้วนั้น  การรับประทานไข่ดิบต้องระมัดระวังเนื่องเพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลาที่ทำให้เจ็บป่วยได้ค่ะ โดยเชื้อดังกล่าวอาจปนเปื้อนจากเปลือกไข่ค่ะ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงโดยการทำให้ไข่สุกจะดีกว่าค่ะ นอกจากนั้น ไข่ดิบยังย่อยยากกว่าค่ะ และข้อเสียอีกอย่างคือในไข่ดิบมีโปรตีนที่ชื่อว่าอะวีดินที่ทำให้ร่างกายดูดซึมไบโอติน (วิตามินบีชนิดหนึ่ง) ได้น้อยลงค่ะ แต่ถ้าทำให้ไข่ขาวสุก โปรตีนที่ว่าจะเปลี่ยนสภาพทำให้ไบโอติถูกนำไปใช้ได้ดีขึ้นค่ะ
 
            บทสรุปก็คือ  เหรียญมีสองด้านฉันใด  อาหารจำพวกไข่ก็เช่นกันค่ะ ไข่มีประโยชน์ต่อร่างกายก็จริงค่ะ แต่ก็ควรรับประทานอย่างระมัดระวังโดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวค่ะ และต้องจำกัดไขมันและคอเลสเตอรอลค่ะ  บุคคลทั่วไปแม้ไม่มีโรคก็อย่าชะล่าใจควรรับประทานไข่แต่พอประมาณ  อาจจะสัปดาห์ละ  3-4  ฟองค่ะ  ถ้าจะให้ดีรับประทานไข่ควบคู่กับผักและอาหารที่มีไฟเบอร์สูงค่ะ  และมื้อไหนมีเมนูไข่  มื้อนั้นควรลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงค่ะ และอาหารทะเลลง  หลีกเลี่ยงการรับประทานไข่ดิบที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อชาลโมเนลลาค่ะ  เลือกรับประทานไข่ต้มหรือไข่ตุ๋นที่ให้แคลอรีต่ำกว่าไข่ที่ปรุงด้วยน้ำมันค่ะ และท้ายสุดพึงระลึกเสมอว่าอะไรที่มากเกินไปก็อาจจะมีโทษได้ค่ะ  เดินทางสายกลางดีที่สุดค่ะ  นั่นคือ  รับประทานอาหารให้สมดุลและครบ  5  หมู่ค่ะ  ออกกำลังกายสม่ำเสมอและทำจิตใจให้แจ่มใสไร้ความเครียดเท่านี้ชีวีก็จะเป็นสุขจ้า

COPYRIGHT©2024 SIAMPILL ALL RIGHTS RESERVED.